สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน 2) พัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรบูรณาการ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนานอ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรบูรณาการ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรบูรณาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน มี 3 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด มีคะแนนคุณภาพเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลักสูตรบูรณาการที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 3) หลักการของหลักสูตร 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 5) กรอบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 6) กรอบมาตรฐานและตัวชี้วัด 7) โครงสร้างหลักสูตร 8) กระบวนการและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 10) การวัดและการประเมินผล มีคะแนนคุณภาพเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรบูรณาการที่พัฒนาขึ้นมี ดังนี้
3.1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรบูรณาการสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรบูรณาการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .19)
The purposes of this research and development were: 1) to examine the components and indicators of students’ learning and innovation skills, 2) to develop an integrated curriculum based on STEM education and constructionism theory to enhance learning and innovation skills for Prathomsuksa 6 students, and 3) to identify the effects after implementing the integrated curriculum in three aspects, as follows: (1) learning and innovation skills, (2) learning achievement, and (3) students’ satisfaction with the learning activity management based on the integrated curriculum. The sample group, obtained through cluster random sampling, consisted of 13 students in Prathomsuksa 6 at Ban Na Nor School in the second semester of the academic year 2020. The research instruments consisted of an integrated curriculum, lesson plans, a learning and innovation skills test, a learning achievement test, and a set of satisfaction questionnaires. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, Dependent Samples t-test, and one-sample t-test.
The findings were as follows:
1. Students’ learning and innovation skills consisted of three components, comprising 14 indicators with a mean score of 4.77 at the highest level.
2. The developed integrated curriculum comprised ten components: 1) Background and significance, 2) Basic concepts and theory, 3) Curriculum principles, 4) Curriculum objectives, 5) Framework for learning and innovation skills, 6) Standard framework and indicators, 7) Curriculum structure, 8) Processes and learning activity management, 9) Media and learning resources, and 10) Measurement and evaluation, with a mean score of 4.86 at the highest level.
3. The effects after the integrated curriculum implementation revealed that:
3.1 Students’ learning and innovation skills after the intervention were higher than that before the intervention, meeting the defined criteria of 70 percent at the .01 level of significance.
3.2 Students’ learning achievements after the intervention were higher than that before the intervention, meeting the defined criteria of 70 percent at the .01 level of significance.
3.3 The students were satisfied with the learning activity management at the highest level ( x= 4.51, S.D. = .19).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 11,698.83 KB |