ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Development of an Additional Curriculum on E-Sports of Science and Technology Learning Strand for Secondary 3 Students Under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
จตุรภุช ไพรสณฑ์ รหัส 61632233104 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจความต้องการหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร และศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นในด้านประสิทธิภาพของหลักสูตรตามเกณฑ์ 70/70 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ทักษะการปฏิบัติของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม การวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร และความรู้เกี่ยวกับอีสปอร์ต ขั้นที่ 2 สำรวจความต้องการหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง อีสปอร์ต เก็บข้อมูลจากผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 399 คน ขั้นที่ 3 พัฒนาหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นที่ 4 ทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน และขั้นที่ 5 ประเมินผลการใช้หลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.71 ถึง 1.00 แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.86 ถึง 1.00 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.57 ถึง 1.00 ค่าความยาก ระหว่าง 0.47 – 0.67 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20 – 0.80 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (dependent samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสำรวจความต้องการหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x  = 4.14, S.D. = 0.65)

2. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียน สำหรับผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด (x  = 4.82, S.D. = 0.14)

3. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต มีประสิทธิภาพ 83.77/71.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด คือ 70/70

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนที่ได้เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต เท่ากับร้อยละ 80.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 

6. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต อยู่ในระดับมากที่สุด ( x  = 4.69, S.D. = 0.18)
 

Abstract

The objectives of this study were to explore the need of additional curriculum, to develop an additional curriculum, and to examine the efficiency of the developed curriculum accordance with the set criteria at 70/70, based on students’ achievement and student’s performance and explore students’ satisfaction towards the additional curriculum on E-Sports of Science and Technology learning strand for Secondary 3 students under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The study was divided into five phases. The first phase was the study of fundamental knowledge and development on additional curriculum on E-Sports. The second phase was the survey of the needs for additional curriculum on E-Sports from 399 administrators, directors, teachers in Science and Technology learning strand and Secondary 3 students under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The third phase was the curriculum development and learning materials which operated by experts. The fourth phase was the try-out of the curriculum with 35 samples. The fifth phase was the evaluation and improvement of the curriculum. The tools employed in data collection consisted of an interview form, a questionnaire, which both obtain the IOC index between 0.71–1.00, a questionnaire on students’ satisfaction with the IOC index between 0.86–1.00, and an achievement test with the IOC between 0.57–1.00, difficulty index between 0.47–0.67, discrimination power index between 0.20-0.80 and reliability index at 0.96. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test dependent samples. 

The results were as follows.

1. The need of an additional curriculum on E-Sports was at high level (x  = 4.14, S.D. = 0.65)

2. The additional curriculum on E-Sports of Science and Technology learning strand for Secondary 3 students under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom comprised rationale and background, curriculum objectives, contents, learning outcome, curriculum structure, course description, learning management approaches, media and learning resources and measurement and evaluation. The evaluation from the experts showed the appropriateness of the curriculum at the highest level ( x = 4.82, S.D. = 0.14).

3. The efficiency of the developed additional curriculum on E-Sports was at 83.77/71.71, which was higher than the set criteria at 70/70. 

4. Students’ learning achievement after studying with the additional curriculum on E-Sports was higher than that before studying with statistical significance at .01.

5. Practical skills of students who studied with the additional curriculum on E-Sports was at 80.89 percent, which was higher than the set criteria at 70 percent.

6. Students’ satisfaction towards the author’s curriculum on E-Sports was at the highest level ( x = 4.69, S.D. = 0.18).
 

คำสำคัญ
หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อีสปอร์ต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ , เทคโนโลยี
Keywords
Additional Curriculum, E-Sports, Science and Technology Learning Strand
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,036.50 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 15:16:27
View 995 ครั้ง


^