ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11
An Analysis of Multilevel Factors Affecting the Effectiveness of Small - Sized Primary Schools in the Regional Education Office No.11
ผู้จัดทำ
เทพเทวรรณ วงษาเนาว์ รหัส 61632250112 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 2) ศึกษาปัจจัยพหุระดับและสร้างโมเดลปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 1,620 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.22-0.95 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง 4 ฉบับ เท่ากับ 0.80, 0.89, 0.94 และ 0.95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กโดยใช้โปรแกรม HLM 8.00 และขั้นตอน ที่ 2 การแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก  มี 3 ขั้น คือ 1) ขั้นจัดทำแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การหาแนวทางพัฒนาจากปัจจัยพหุระดับ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) ขั้นสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเชิงลึก จำนวน 8 ท่าน และ 3) ขั้นประเมินผลแนวทางในการพัฒนา โดยมีการประเมินความถูกต้องความเป็นไปได้และความเหมาะสม

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีปัจจัย 3 ระดับคือ 1) ปัจจัยระดับนักเรียน 5 ปัจจัย โดยมี 4 ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ เจตคติต่อการเรียนของนักเรียน พฤติกรรมการเรียน แรงจูงใจในการเรียน และความรู้พื้นฐานเดิมส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเดิม ไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน 2) ปัจจัยระดับห้องเรียน 5 ปัจจัย โดยมี 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ คุณภาพการสอนของครู สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ภายในห้องเรียน และประสบการณ์การเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ส่วนการได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครู ไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) ปัจจัยระดับโรงเรียน 4 ปัจจัย โดยทั้ง 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร บรรยากาศของโรงเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และองค์กรแห่งการเรียนรู้  

3. แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก ในพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 โดยปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลทางตรง 3 ตัวคือ 1) ด้านคุณภาพของนักเรียน ได้แก่ สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คิดเป็น ทำเป็น และมีจิตสาธารณะ 2) ด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้อย่างเข้าใจ การสร้างองค์ความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ และ 3) ด้านคุณภาพการบริหารโรงเรียน ได้แก่ บรรยากาศและสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการ การบริหารแบบมีส่วนร่วมและความยั่งยืนและต่อเนื่อง
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the level of schooleffectiveness, 2) identify multilevel factors and create a model of multilevel factors affecting the school effectiveness, and 3) establish guidelines for developing factors affecting the effectiveness of small-sized primary schools. The research process was divided into two stages: Stage 1-Analyzing the multilevel factors that affected the effectiveness of small-sized primary schools. The research sample consisted of administrators, teachers, and Pratomsuksa 6 students from small-sized primary schools under the Regional Education Office No.11, yielding a total of 1,620 participants. Sampling by multi-stage random sampling technique. The research instrument was a set of 5-point rating scale questionnaires consisting of four parts that passed the quality assessment with item discrimination values ranging from 0.22 to 0.95 and reliability values of 0.80, 0.89, 0.94, and 0.95, respectively. Statistics for data analysis included percentage, mean and standard deviation. A Pearson’s product-moment correlation coefficient was computed to assess the relationship between the factors and the school effectiveness. The multilevel factors affecting  the effectiveness of small-sized primary schools were identified using the HLM 8.00 software. Stage 2-Guidelines for developing factors affecting the effectiveness of small-sized primary schools consisted of three steps: 1) Formulation of in-depth interview forms to establish the guidelines for developing factors affecting the effectiveness of small-sized primary schools,  2) Interviews with eight experts to achieve deeper insights into the details of the proposed guidelines, and 3) Evaluation of the accuracy, feasibility, and suitability of the proposed guidelines.

The findings were as follows:

1. The effectiveness of small - sized primary schools in the Regional Education Office No.11 as a whole was at a high level. 

2. The multilevel factors affecting the effectiveness of small-sized primary schools consisted of three factors: 1) At a student-level factor, four out of five factors affected the school effectiveness at the .01 level of significance, including student attitudes, learning behaviors, learning motivation, and basic prior knowledge. The learning achievement factor was the only factor that did not affect the school effectiveness; 2) At a class-level factor. Four out of five factors affected the school effectiveness at the .01 level of significance, including instructional quality, media and learning innovation, and in-class and out-of-class learning experiences. The teacher social support factor was the only factor that did not affect the school effectiveness, and 3) At a school-level factor, all four factors affected the school effectiveness at the .01 level of significance, including administrators’ leadership, school atmosphere, school-community relationship, and learning organization.  

3. The guidelines for developing factors affecting the effectiveness of small-sized primary schools in the Regional Education Office No.11 revealed that the three multilevel factors with direct effects were: 1) Student Quality, including good physical and mental health, achievement motivation, thinking and acting abilities, and public-mindedness; 2) Instructional Management Quality, including learning with understanding, creating a body of knowledge, and applying knowledge to practice; and 3) School Management Quality, including atmosphere and environment, administration management, participatory management, and sustainability and continuity.
 

คำสำคัญ
การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับ ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Multilevel Factor Analysis, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 18,283.36 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 14:59:49
View 379 ครั้ง


^