ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model of Developing Transformational Leadership of Small-Sized Primary School Administrators in the Northeast Region
ผู้จัดทำ
สายฝน สวัสเอื้อ รหัส 6232250115 ระดับ ปริญญาเอก
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดประถมศึกษาเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 344 คน กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 30 คน โดยความสมัครใจ ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified)

             ผลการวิจัย  พบว่า 

                 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม (PNI = .48) 2) การมีวิสัยทัศน์ (PNI = .46) 3) การเป็นผู้นำทางวิชาการ (PNI = .43) 4) การสร้างแรงจูงใจ (PNI = .14) 5) การแก้ปัญหาและตัดสินใจ (PNI = .19) 6) สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (PNI = .45) และ 7) การมีคุณธรรมจริยธรรม (PNI =.16) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็น (PNImodified) มี 4 องค์ประกอบที่ต้องได้รับการพัฒนา คือ 1) การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม 2) การมีวิสัยทัศน์ 3) สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) การเป็นผู้นำทางวิชาการตามลำดับ

                 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา และการประเมินผล โดยมีค่าความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( x= 4.44) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.62)

                 3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดประถมศึกษาเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลังทดลองใช้รูปแบบ (x = 9.82) สูงกว่าก่อนทดลองใช้ (x = 6.78) ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ  (x=4.55) และการศึกษาดูงานอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.55) และผลการประเมินตนเองของภาวะผู้นำหลังปฏิบัติ (x = 4.58) สูงกว่าก่อนปฏิบัติ (x = 3.54) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดประถมศึกษาเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประสิทธิผลสามารถพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Abstract

The purposes of this Research and Development research were to 1) analyzed the components and needs of transformational leadership of administrators from small-sized primary schools located in the northeast region, 2) construct and develop a model for developing transformational leadership of administrators in small-sized primary schools in the northeast region, and 3) validate the effectiveness of the developed model. The sample for needs assessment consisted of 344 administrators from small-sized primary schools in the northeast region in the 2022 academic year. The implemented model involved 30 voluntary administrators from small-sized primary schools under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The research consisted of three phases: Phase I was related to examining the components and needs of transformational leadership, Phase II focused on the establishment and development of a transformational leadership model and Phase III involved an investigation of the effectiveness of the developed model. Data were analyzed through means, standard deviation, and Priority Needs Index (PNImodified).

             The findings were as follows:

                 1. The components of transformational leadership for small-sized primary school administrators in the northeast region comprised seven components: network participatory (PNI = .48), visionary (PNI = .46), academic leadership (PNI = .43), motivation (PNI = .14), problem solving and decision making (PNI = .19), competency to use digital technologies (PNI = .45), morality and ethics (PNI = .16). The priority needs index revealed that the components needing improvement were 1) network participatory, 2) visionary, 3) competency to use digital technologies, and academic leadership, respectively.

                 2. The model for developing transformational leadership for small-sized primary school administrators in the northeast region comprised five parts, namely principles, objectives, contents, development process, and measurement. The appropriateness was overall at a high level (x = 4.44) and the possibilities were at the highest level (x = 4.62).

                 3. The effectiveness of the model for developing transformational leadership of small-sized primary school administrators in the northeast region revealed that: Following the model implementation, transformational leadership behaviors demonstrated a significant increase from an average score of 6.78 to 9.82, before implementation. The participants expressed their satisfaction with the training and the study visits at the highest level (x = 4.55). The participants’ self-reported leadership after the implementation achieved the highest level (x = 4.58), surpassing their pre-performance score (x = 3.54). These results indicated that the effectiveness of the developed model effectively enhanced the transformational leadership of school administrators.

คำสำคัญ
รูปแบบ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก
Keywords
A Model, Transformational Leadership, Small-Sized Primary School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 16,667.14 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 09:00:09
View 771 ครั้ง


^