ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Relationship between Academic Leadership of School Administrators and Professional Learning Community of Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
ปานหทัย ธรรมรัตน์ รหัส 62421229108 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร , ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 344 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 80 คน และครูผู้สอน จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.969 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) 

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 

2. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประเภทของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน

4. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประเภทของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูง (rxy=0.825) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

6. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน โดยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การบริหารหลักสูตรและการสอน โดยผู้บริหารและคณะครูร่วมกันวางแผนและช่วยกันจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม 2) การพัฒนาบุคลากรด้านวิชาการ โดยกำหนดรูปแบบการพัฒนาผู้บริหาร เช่น จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ครูสร้างบรรยากาศ ที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ร่วม โดยบุคลากรมีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน 2) ชุมชนกัลยาณมิตร โดยจัดกิจกรรมที่สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและ 3) โครงสร้างสนับสนุน โดยจัดโครงสร้างการบริหารงาน มอบหมายงานและหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนตามความถนัดและความต้องการ
 

Abstract

The purposes of this research were to: examine, compare and determine the relationship between between academic leadership of school administrators and professional learning community of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, and establish the guidelines for academic leadership of school administrators and professional learning community. The samples yielding a total of 344 participants in the 2020 academic year, consisted of 80 school administrators and 264 teachers. The instrument for data collection was a set of 5–level rating scale questionnaires with the reliability of 0.969. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), One–way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.

The findings were as follows:

1. Academic leadership of school administrators, as perceived by school administrators and teachers, were at a high level.

2. Professional learning community of schools, as perceived by school administrators and teachers, were at a high level.

3. Academic leadership of school administrators by school administrators and teachers with different working position as a whole were different at a statistical significance of the .01 level, work experience position as a whole were different at a statistical significance of the .05 level, but school sizes and types of schools as a whole were not different.

4. Professional learning community of schools by school administrators and teachers with different working position and school sizes as a whole were different at a statistical significance of the .01 level, work experience position as a whole were different at a statistical significance of the .05 level, but types of schools as a whole were not different.

5. Academic leadership of school administrators and professional learning community of schools, as a whole had a high positive relationship (rxy=0.825) at the statistical significance of the .01 level.

6. The guidelines for developing academic leadership of school administrators and the school's professional learning community; academic leadership of the school administrators were suggested in 3 areas: 1) curriculum administration and teaching;  the administrators and teachers work together to plan and help create the curriculum in accordance with the needs of learners, communities and society  2) academic personnel development; defining a model for executive development such as organizing workshops 3) creating an atmosphere conducive to learning; encouraging teachers to create a good atmosphere for learning.  As for the professional learning community of the school were suggested in 3 areas: 1) shared vision; the personnel participated in setting the vision of the organization. 2) Caring community; organizing activities that support and encourage colleague to live together happily; and 3) supporting structures; organizing the management structure, assign tasks and responsibilities clearly according to aptitude and needs.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา , การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน
Keywords
academic leadership of school administrators , professional learning community of schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,579.14 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 14:44:42
View 1501 ครั้ง


^