ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Factors Affecting the Transformational Leadership of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 21
ผู้จัดทำ
อภิสรา มุ่งมาตร รหัส 62421229130 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ ,ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่งขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจังหวัดที่ตั้งโรงเรียน ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 76 คน และครูผู้สอน จำนวน 259 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test)  ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร จำแนกตามขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจังหวัดที่ตั้งโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามจังหวัดที่ตั้งโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี (X6) ด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (X4) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (X1) ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (X8) และด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X3) สามารถพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 0.28 + 0.26 X6 + 0.28 X4 + 0.17 X1 + 0.13 X8 + 0.08 X3 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.34 ZX6 + 0.27 ZX4 + 0.16 ZX1 + 0.16 ZX8 + 0.09 ZX3

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เสนอแนะไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้บริหาร มีความรู้และวิธีการจัดทำการกำหนดวิสัยทัศน์ 2) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 3) ด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม สัมมนาเพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนางาน 4) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ในด้านการปฏิบัติตน และการปฏิบัติงาน และ 5) ด้านความฉลาดทางอารมณ์ ควรเป็นผู้ที่สามารถเผชิญหน้ากับอุปสรรคและปัญหาได้อย่างมีเหตุผล
 

Abstract

The purposes of this research were: to examine the levels of factors affecting the transformational leadership (TL), and the transformational leadership of school administrators; to compare factors affecting school administrators' TL classified by different position, school sizes, work experience, and a province of school location; to determine the relationship between factors affecting TL and school administrators’ TL; and to establish guidelines for developing factors affecting school administrators’ TL. The Stratified Random sampling of a total of 335 participants, including 76 school administrators and 259 teachers in schools under the Secondary Education Service Area Office 21 in the 2020 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires measuring factors affecting school administrators’ TL, with a reliability of 0.95, and school administrators’ TL, with a reliability of 0.94. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, One–Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The factors affecting school administrators’ TL as a whole and in each aspect were at a high level.

2. The school administrators’ TL as a whole and in each aspect was at a high level.

3. The factors affecting school administrators’ TL, perceived by participants from different school sizes, work experience and the province of school location, as a whole differed at the .01 level of significance, whereas there were not differences in terms of positions in overall.

4. The school administrators’ TL, perceived by participants with different positions, school sizes and work experiences, as a whole was different at the .01 level of significance, whereas there was a difference overall at the .05 level of significance in terms of a province of school location.

5. The factors affecting school administrators’ TL and TL of school administrators, as a whole, had a positive relationship at a high level with the .01 level of significance.

6. The factors consisting of being a good role model (X6), being a learning organization (X4), vision determination (X1), emotional intelligence (X8) and participatory management (X3) were able to predict the effectiveness of school administrators’ TL at the .01 level of significance. The predictive equation in raw scores was Y’ = 0.28 + 0.26 X6 + 0.28 X4 + 0.17 X1 + 0.13 X8 + 0.08 X3, and the predictive equation in standardized scores was Z’ = 0.34 ZX6 + 0.27 ZX4 + 0.16 ZX1 + 0.16 ZX8 + 0.09 ZX3.

7. The guidelines for developing factors affecting school administrators’ transformational leadership involved five aspects: 1) Vision determination aiming at providing workshops for administrators to obtain knowledge and approaches for vision determination; 2) Participative management aiming at giving opportunities for teachers to express their opinions; 3) Learning organization aiming at supporting teachers to attend trainings and seminars to update their knowledge of task performance; 4) Being a good role model in terms of self-performance and work performance; and 5) Emotional intelligence. School administrators should take reasonable and timely action in dealing with obstacles and challenges.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง , ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียน
Keywords
Factors Affecting Transformational Leadership, Transformational Leadership, School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,829.96 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 09:45:10
View 776 ครั้ง


^