ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
The Relationship between School Administrators’ Administrative Behaviors and Teachers’ Performance Motivation under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
บุญวัฒน์ คำชูราษฎร์ รหัส 62421229132 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 342 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 106 คน ครูผู้สอน จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า คือ พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ อยู่ในระดับมาก

2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ อยู่ในระดับมาก

3. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

6. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ระดับ (r_xy =.758) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ด้านคือ ด้านการเป็นผู้นำ ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล กล้าตัดสินใจ ไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขต และด้านการสร้างแรงจูงใจ ผู้บริหารต้องให้ความก้าวหน้า ความมั่นคงในหน้าที่การงาน มีการแสดงความชื่นชมแก่ครูในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และ 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มี 2 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในงานที่ทำ ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ให้คำยกย่องชมเชยและมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถ และด้านการได้รับความยอมรับนับถือ ควรส่งเสริมให้ได้พัฒนาตนเอง ได้รับรางวัลต่าง ๆ ประกาศเกียรติคุณ ยกย่องชมเชย และให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน
 

Abstract

The purposes of this research were to explore the relationship between school administrators’ administrative behaviors and teachers’ performance motivation under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 342 participants, including 106 school administrators and 236 teachers under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office in the 2020 academic year. The research instrument for data collection was a set of rating scale questionnaires, comprising school administrators’ administrative behaviors and teachers’ performance motivation with a reliability of .86. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. 

The findings were as follows: 

1. Administrative behaviors of the administrators of schools under Bueng kan Primary Educational Service Area Office were at a high level.

2. The performance motivation of the teachers in school under Bueng kan Primary Educational Service Area Office was at a high level. 

3. School administrators’ administrative behaviors and teachers’ performance motivation as perceived by participants with different positions were at the level of .01 of significance overall.

4. Overall administrative behaviors of school administrators and teachers’ performance motivation as perceived by participants with different work experience showed no difference.

 5. Overall administrative behaviors of school as perceived by participants from different school sizes were varied at the level of .01 of significance, whereas overall performance motivation of teachers differed at the level of .05 of significance. 

6. School administrators’ administrative behaviors and teachers’ motivation performance had a positive correlation at a high level, with a correlation coefficient (r_xy =.758) at the .01 level of significance. 

7. The guidelines for developing school administrators’ administrative behaviors and teachers’ performance motivation included two aspects as follows: 1) Administrative behaviors of school administrators comprised two aspects: Being Leader; school administrators must have universal vision, make decisions with confidence, avoid the use of power unnecessarily; and Creating Motivation; school administrators should ensure career advancement and stable employment, and continuously conduct teacher performance appraisals, and 2) Motivation performance of teachers consisted of two aspects: Firstly, perceived task achievements; school administrators should have clear goals, and appraise and assign tasks related to individual competence. Secondly, recognition; school administrators should support teachers to engage in professional development and in achieving the awards. School administrators should also regularly conduct appraisals and demonstrate respect to subordinates and colleagues.
 

คำสำคัญ
พฤติกรรมทางการบริหาร , แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู
Keywords
Administrative Behaviors, Teachers’ Motivation Performance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,084.21 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 14:50:48
View 639 ครั้ง


^