ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Relationship between Administrators’ Institutional Leadership and The Promotion of Learning Management of Teachers in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
พีรวัฒน์ ทองเพชร รหัส 62421229217 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล , ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนที่ต่างกัน และหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ใช้ระเบียบวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูผู้สอน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 356 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 89 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 89 คน และครูผู้สอน จำนวน 178 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

4. การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา 
หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .964

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 3 ด้าน คือ 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองให้มีองค์ความรู้ สร้างแรงจูงใจและจัดหาทรัพยากรให้สอดคล้องกับองค์กร มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้บริหารควรมีความรู้ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และสนับสนุนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมและ  3) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพครู และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC
 

Abstract

The purposes of this descriptive research were: to compare, identify the administrators’ instructional leadership and the promotion of learning management of teachers as perceived by school administrators, heads of academic affairs groups, and teachers classified by different positions, work experience, and school sizes, and to establish guidelines for developing administrators’ instructional leadership affecting the promotion of learning management of teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan table and multi-stage random sampling, which yielded a total of 356 participants consisting of 89 school administrators, 89 heads of academic affairs groups, and 178 teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in the academic year 2021. The data collection was carried out through a set of 5- rating scale questionnaires on administrators’ instructional leadership and the promotion of teachers’ learning management. The statistics for data analysis were percentage, means, standard deviation, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.

The findings were as follows.

1. The instructional leadership of administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 as perceived by participants was overall at a high level.

2. The promotion of learning management of teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 as perceived by participants was overall at a high level.

3. The overall instructional leadership of administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 as perceived by participants classified by positions, work experience, and school sizes was different at the 0.01 level of significance.

4. The overall promotion of learning management of teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 as perceived by participants classified by positions, work experience, and school sizes was different at the 0.01 level of significance.

5. The administrators’ instructional leadership and the promotion of learning management of teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 had a positive relationship at a high level with the 0.01 level of significance and a correlation coefficient of 0.964.

6. The guidelines for developing administrators’ instructional leadership and the promotion of learning management of teachers in schools proposed three aspects as follows: 1) Creating Vision, Mission, and Goals: Administrators must develop themselves to build a body of knowledge, create motivation, and provide resources allocation to be consistent within organizations. The supervision, monitoring, and assessment must be implemented: 2) Curriculum Administrative Management and Instructional Activity Management: Administrators should have knowledge of curriculum administrative management, promote modern curriculum development and support work participation; and 3) Teacher Professional Development: Administrators should raise awareness about the importance of teacher professional development and knowledge sharing through the PLC process.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
Keywords
Instructional Leadership, Promotion of Learning Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,917.03 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 14:58:13
View 477 ครั้ง


^