ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Administrative Factors Affecting Learning Organization in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
กนกเนตร คำไพ รหัส 62421229231 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.รัชฎาพร งอยภูธร กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์และแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 363 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 89 คน และครูผู้สอน จำนวน274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที (t – test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. ระดับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

         2. ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

         3. เปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวม ความแตกต่างกัน อย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดโรงเรียนไม่แตกต่างกัน

        4. เปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน

        5. ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ในระดับสูง (r×y = 0.788)

        6. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านงบประมาณ/ทรัพยากร 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร 3) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ 4) ด้านการจูงใจ

        7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ดังนี้ 1)  ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองด้านการบริหารและพัฒนาผู้เรียน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของครูและผู้ปกครอง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ร่วมงาน 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ความสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโรงเรียนแก่ครูและผู้ปกครองอย่างทั่วถึง 3) ด้านงบประมาณ/ทรัพยากร ได้แก่ บริหารงานด้วยความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลและ 4)ด้านการจูงใจ ได้แก่ เปิดโอกาสในการทำงาน ส่งเสริมให้กำลังใจและทุ่มเทเสียสละต่อองค์กร

Abstract

          This research aimed to examine, and compare the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors affecting learning organization in schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1. The research sample consisted of 89 school administrators, and 274 teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2022, yielding a total of 363 participants. The research tool included a set of questionnaires. Statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation, t-test for Independent Samples, one-way analysis of variance (ANOVA) F-test, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

         The findings were as follows:

         1. The level of administrative factors in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 was overall at the highest level.

         2. The learning organization level in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 Office was overall at the highest level.

         3. Upon comparison, administrative factors in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, as perceived by participants with different positions and work experience, showed differences overall at the .01 level of significance. When considering school sizes, no overall differences were observed.

         4. Upon comparison, learning organizations in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, as perceived by participants with different positions and school sizes, showed differences overall at the .01 level of significance. However, there were no differences regarding work experience.

          5. The relationship between administrative factors and learning organizations in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 was at a high level (r×y = 0.788).

          6. Administrative factors affecting learning organizations in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, encompassed four aspects: 1) budget/resources, 2) communication, 3) leadership of administrators, and 4) motivation.

          7. Guidelines for developing administrative factors affecting learning organizations in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 were as follows: 1) Leadership of Administrators. School administrators should improve their professional development in both administration and student development, have strong interpersonal skills, gain the respect of teachers and parents, and serve as good role models for their colleagues, 2) Communication. School administrators should ensure thorough communication by disseminating information about school relationships and updates to teachers and parents, 3) Budget/resources. School administrators should demonstrate transparency in their actions, adhering to the principles of good governance, and 4) Motivation. School administrators should prioritize empowering individuals and promoting motivation and dedication to the organization.

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร องค์กรแห่งการเรียนรู้
Keywords
Administrative Factors, Learning Organization
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,946.89 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 กุมภาพันธ์ 2567 - 15:05:46
View 227 ครั้ง


^