สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การและความสุขในการทำงาน ของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จำนวน 254 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมองค์การขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =3.80) และความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =3.11)
2. ผลการเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครแตกต่างกันหรือไม่ เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านตำแหน่ง และด้านสังกัด พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน(ในหน่วยงานนี้) และอัตราเงินเดือน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน
3. วัฒนธรรมองค์การด้านวัฒนธรรมส่วนร่วม (β=.292) มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ด้านวัฒนธรรมเอกภาพ (β =.280) และด้านวัฒนธรรมพันธกิจ (CUL4) (β =.272) มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ =.572 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 57.20 ส่วนวัฒนธรรมปรับตัว (CUL3) ไม่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
4. แนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การและความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้พนักงาน ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ค่านิยมขององค์กร และวัฒนธรรมองค์การ ควรการกำหนดนโยบายและการบริหารที่เหมาะสมเอื้อให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน โดยการสร้างแรงจูงใจการทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิต การทำงาน และเอาใจใส่ให้กับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมเท่าที่จะทำได้
The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of organizational culture and happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, 2) to compare the happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization on the basis of their personal traits, 3) to examine the influences of organizational culture on happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, and 4) to explore and gain guidelines on developing organizational culture and happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization. Obtained by cluster random sampling, the samples consisted of 254 government officials, permanent and temporary employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization. A questionnaire was used as a tool for data collection and statistics employed for data analysis comprised frequency, percentage, mean, standard deviation, t–test, One–way ANOVA, and Multiple Linear Regression Analysis.
The study revealed these results:
1. The organizational culture of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole, was at the high level (x =3.80). Likewise, the happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole, was at the high level (x =3.11).
2. Comparing the happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, it was found that the employees with different positions, and departments/offices significantly had different opinions on the happiness at work at .05 statistical level. Nevertheless, the employees with different genders, ages, marital statuses, educational backgrounds, work experiences, and salaries, did not have different opinions on the happiness at work.
3. Of the organizational culture, the involvement culture (β=.292) significantly influenced on the happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization at .00 statistical level. The consistency culture (β =.280) and mission culture (CUL4; β =.272) significantly influenced on the happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization at .01 statistical level with the correlation coefficient of .572; this meant that altogether they could be used to correctly predict the happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization 57.20%. Nonetheless, adaptability culture (CUL3) did not influence on the happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization.
4. These guidelines were given for developing organizational culture and happiness at work of the employees of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization: the administrators should encourage the employees to comply with the organizational vision, values, and culture. Appropriate policies and good management should be imposed to help the employees to gain happiness at work. Job motives and quality of work life should be created and developed. Attention and care should be equally paid to all employees as much as possible.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,987.82 KB |