ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร
Influences of Work Environment on Work Efficiency of Government Officials and Personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department
ผู้จัดทำ
เจตนา สายศรี รหัส 62426423108 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สามารถ อัยกร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. จิตติ กิตติเลิศไพศาล กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำนวน 178 คน ซึ่งได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 2 สภาพแวดล้อมในการทำงาน เท่ากับ 0.97 และตอนที่ 3 ประสิทธิภาพในการทำงาน เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. สภาพแวดล้อมในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

          2. ประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

          3. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          4. ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือ ด้านสัมพันธภาพ (X1) และ ด้านการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงาน (X3) โดยมีสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์ เท่ากับ 0.34 รองลงมา คือ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงาน (X2) โดยมีสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์ เท่ากับ 0.22 ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ด้านนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการและบุคลากรกรมการปกครองในจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 75 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ  ±0.33047

             สามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้

                 Y ′ = 0.83 + 0.31 X1 + 0.31 X3 + 0.20 X2

             และสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

                 Z′Y = 0.34 ZX1 + 0.34 ZX3 + 0.22 ZX2   

Abstract

          The purposes of this research were to study the level of work environment and work efficiency of the government officials and personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department; to compare the work efficiency of the government officials and personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department on the basis of their personal characteristics; and to investigate the influences of work environment on the work efficiency of the government officials and personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department. The sample used in the study included 178 personnel and government officials who reported to Sakon Nakhon Provincial Administration Department. The sample size was calculated by using Taro Yamane’s formula. To collect the data, a questionnaire with 0.97 reliability for section 2 (work environment) and 0.98 reliability for section 3 (work efficiency) was employed. The statistics used for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, One – way ANOVA, Pearson product-moment correlation coefficient, and Multiple Regression Analysis.

          The study revealed these results:

          1. The overall as well as each aspect of the work environment of the government officials and personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department were at the high level.

          2. The work efficiency of the government officials and personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, both as a whole and in each aspect, was also at a high level.

          3. Comparing the work efficiency of the government officials and personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department whose personal characteristics differed, it was found that their work efficiency, as a whole, was not significantly different at .05 statistical level.  

          4. The variables with best predictive power were relationship (X1) and job retention and change of work system (X3); their forecasting regression coefficient was 0.34. At the same time, job advancement (X2) had the second best predictive power with the regression coefficient for forecasting of 0.22. Altogether, these 3 variables could be used to correctly explain the work efficiency variance of the government officials and personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department 75% with a standard forecast error of ±0.33047.

                     A raw score regression equation was shown below:

                         Y ′ = 0.83 + 0.31 X1 + 0.31 X3 + 0.20 X2

                     In addition, a standard score regression equation was demonstrated beneath: 

                         Z′Y = 0.34 ZX1 + 0.34 ZX3 + 0.22 ZX2   

คำสำคัญ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน
Keywords
Work environment, work efficiency
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,120.34 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 13:20:16
View 63 ครั้ง


^