สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บังคับบัญชา สำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 2) ระดับผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 3) อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 4) แนวทางในการพัฒนาผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนสำนักงานพัฒนาชุมชน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 จำนวน 220 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บังคับบัญชาสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (¯("X" ) =4.18)
2. ผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (¯("X" ) =4.32)
3. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการควบคุมองค์การให้สมดุล (LEA5) (β=.263) ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (LEA1) (β=.244) และด้านการบริหารทรัพยากรในองค์การ (LEA2) (β=.233) มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ได้ร้อยละ 58.20 (Adjusted R2 = .582)
4. แนวทางในการพัฒนาผลการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ได้แก่ ควรมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการดำเนินงานของหน่วยงานให้ชัดเจน มีความเหมาะสมเอื้อให้งานสำเร็จลุล่วง ควรมีการจัดระบบการทำงานให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยยึดถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาการบริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ให้ทันกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน และควรพัฒนาระดับการให้บริการ โดยเน้นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่มาใช้บริการ
The objectives of this research were to study 1) the strategic leadership level of the supervisors of community development office of upper northeastern provinces 1 2) level of performance of community development office of upper northeastern provinces 1 3) influence of strategic leadership on the office's performance community development in the upper northeastern provinces 1 4) guidelines for the development of the performance of the community development office of the upper northeastern provinces 1. Obtained through stratified random sampling technique a group of 220 people of community development office in the upper northeastern region 1 was used a stratified sampling method by using questionnaires as a tool to collect data and the statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. and multiple regression analysis.
The results of the research were as follows:
1) The overall level of Strategic Leadership of Community Development Office Supervisors in the Upper Northeastern Region 1 was at a high level (¯("X" ) =4.18).
2) The performance of the Provincial Community Development Offices. Upper Northeastern Region 1 as a whole is at a high level (¯("X" ) = 4.32)
3) Strategic Leadership in Balanced Organizational Control (LEA5) (β=.263), Strategic Direction (LEA1) (β) =.244) and organizational resource management (LEA2) (β=.233) had a statistically significant influence on the performance of the Community Development Office of the Upper Northeastern Province Group 1 at the .05 level. They can jointly forecast the performance level of the Community Development Office of the Upper Northeastern Provinces 1 by 58.20% (R2 = .582).
4) Guidelines for developing the performance of the Provincial Community Development Offices. Upper Northeastern Region 1 : There should be clearly defined policies and goals for the operation of the agency. Is appropriate to facilitate the success of the job. Work systems should be organized to be flexible and efficient. by adhering to the benefits and happiness of the people as the main There should be continuous improvement and development of public services to keep up with the ever-changing social conditions. and should improve service levels by focusing on facilitating the people who come to use the service.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,975.09 KB |