ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
Factors Affecting the Performance Effectiveness of the Personnel of Sakon Nakhon Provincial Electricity Authority Area
ผู้จัดทำ
สันติภาพ วะชุม รหัส 62426423133 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำนวน 216 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.91) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.89) และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=4.11)

         2. ตัวแปรของการบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 41.50 (R2Ad=.415) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรย่อยที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด คือ ความปลอดภัยและสุขภาพ (β=.620) รองลงมาคือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน (β=.235) ยกเว้นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร และค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น

          สำหรับตัวแปรของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 49.20 (R2Ad=.492) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรย่อยที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด คือ การพัฒนาองค์กร (β=.323) รองลงมาคือ การฝึกอบรมและพัฒนา (β=.317) และการพัฒนาสายอาชีพ (β=.202) ตามลำดับ

Abstract

          The purposes of this research included the following: 1) To study the levels of human resources management, human resources development, and the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Electricity Authority Area, 2) To investigate the influences of human resources management and development on the performance effectiveness of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Electricity Authority Area. Using stratified random sampling method, the sample group was 216 personnel who reported to the Provincial Electricity Authority, Sakon Nakhon Province. A questionnaire was used as a tool for collecting the data and the statistics employed for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and Multiple Regression Analysis.

          The research revealed these results:

          1. The overall human resources management of the Provincial Electricity Authority, Sakon Nakhon Province, was at the high level (x=3.91). Likewise,  human resources development of the Provincial Electricity Authority, Sakon Nakhon Province, as a whole, was also at a high level (x=3.89).  Certainly, the overall performance effectiveness of the personnel who reported to Sakon Nakhon Provincial Electricity Authority, was at a high level, too (x=4.11).              

             2.  Except for human resources planning; human resources recruitment and selection; payment/wage/salary and other fringe benefits, these human resources management variables could be used jointly to predict the performance effectiveness of the personnel who reported to the Provincial Electricity Authority, Sakon Nakhon Province 41.50% (R2Ad=.415) at .01 level of statistical significance. Among these variables, the sub-variable of safety and health gained the highest standardized regression coefficient (β=.620) whereas performance assessment had the second highest standardized regression coefficient (β=.235).

          As for the variables of human resources development, these human resources development variables could be used jointly to predict the performance effectiveness of the personnel who reported to the Provincial Electricity Authority, Sakon Nakhon Province 49.20% (R2Ad=.492) with statistical significance at the .05 level. When considering the sub-variables, it was found that the sub-variable with the highest standardized regression coefficient was the organizational development (β=.323); followed by training and development (β=.317) and career development (β=.202), respectively.

คำสำคัญ
ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, บุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
Keywords
Performance effectiveness, Human Resources Management, Human Resources Development, personnel of Sakon Nakhon Provincial Electricity Authority Area
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,974.40 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 13:41:46
View 224 ครั้ง


^