ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Causual Relationship Model of Factors Affecting Innovative Leadership of School Administrators under Primary Educational Service Area Offices in the Northeast
ผู้จัดทำ
เดชา ลุนาวงค์ รหัส 62632233106 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และพหุกรณีศึกษาโรงเรียนดีเด่น จำนวน 3 โรงเรียน ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปร การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.37 - 0.85 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 2) การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม 3) การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และ 4) การมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บรรยากาศส่งเสริมนวัตกรรม การเสริมสร้างพลังอำนาจ การริเริ่มการเรียนรู้ และภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

3. โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 78.68, df = 93, p-value = 0.85, χ2/df = 0.84, RMSEA = 0.00, GFI = 0.98, AGFI = 0.96 โดยตัวแปรด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ได้รับอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกจากการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีค่าอิทธิพล เท่ากับ 0.38 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ได้ร้อยละ 91

Abstract

The objectives of this research were to: 1) identify the innovative leadership components of school administrators, 2) develop a causal relationship model of factors affecting innovative leadership of school administrators, and 3) validate the consistency of the causal relationship model of the factors affecting innovative leadership of school administrators under Primary Education Service Area offices in the northeast developed in this study with empirical data. The study was conducted in two phases. The first phase was the identification of the innovative leadership components of school administrators and the development of a causal relationship model of factors affecting the innovative leadership of school administrators through reviewing related documents and research articles, interviewing seven experts and multiple case study investigating of three outstanding schools. The second phase the consistency validation of the model. The sample group comprised 360 school administrators under the Primary Education Service Area offices in the northeastern region in the academic year 2021. The sample size was determined using the ratio of the samples per parameter at 20: 1. The samples were obtained using Multi-stage Random Sampling. The instrument used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire with validity index between 0.80 – 1.00 and discrimination power index between 0.37 -. 0.85 and reliability index 0.99. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product – Moment Correlation Coefficients and structural equation model analysis.

The findings were as follows. 

1. The identified components of innovative leadership of school administrators under Primary Education Service Area offices in the northeast were 
1) innovative vision, 2) innovative teamwork and participation, 3) creative and innovative thinking skills, and 4) innovative personality.

2. The causal relationship model of factors affecting innovative leadership of school administrators under Primary Education Service Area offices in the northeast comprised five factors, namely transformational leadership, the innovation promoting atmosphere, empowerment, learning initiation and innovative leadership of school administrators.

3. The developed model was consistent with the empirical data with Chi-square = 78.68, df = 93, p-value = 0.85, χ2/df = 0.84, RMSEA = 0.00, GFI = 0.98, AGFI = 0.96. The innovative leadership of school administrators was directly affected in a positive direction by empowerment from the effect size at 0.38 with statistical significance at the .05. The variables in the model could explain the variance of the innovative leadership of school administrators at 91 percent.

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา
Keywords
Causal Relationship Model, Innovative Leadership, School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,768.00 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 14:59:18
View 1957 ครั้ง


^