ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Development of Followership Indicators of Teachers in Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast
ผู้จัดทำ
พิมพ์ปภัทร แก้วดี รหัส 62632233201 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.เอกลักษณ์ เพียสา , รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) สร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods) การดำเนินการวิจัยเป็นแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครู โดยวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการศึกษารายกรณี จำนวน 2 โรงเรียน ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อยืนยันตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครู เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 600 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.88–1.00 ค่าอำนาจการจำแนก ระหว่าง 0.26-0.77 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 3 การสร้างคู่มือการใช้  ตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครู โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมของคู่มือ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้ตามของครู มี 6 องค์ประกอบหลัก 25 องค์ประกอบย่อย 118 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นมนุษยสัมพันธ์ จำนวน 21 ตัวบ่งชี้ ความกล้า จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ความรับผิดชอบ จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาตนเอง จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ และการทำงานเป็นทีม จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบภาวะผู้ตามของครู มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และองค์ประกอบหลักที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุดคือองค์ประกอบหลักด้านมนุษยสัมพันธ์

2. โมเดลโครงสร้างภาวะผู้ตามของครู พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 40.67, p-value = .53, df = 42, GFI = 0.99, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.00) ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้ตามของครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop followership indicators of teachers in secondary schools, 2) to examine the congruence of the developed structural model of r followership indicators of teachers in secondary schools with empirical data, and 3) to construct a manual of followership indicators of teachers in secondary schools. The mixed-method research was conducted in three phases. Phase 1 was the determination of a conceptual framework and development of the followership indicators of teachers through document and research review, interviews of seven experts, and case studies with two schools. Phase 2 was hypothesis testing with empirical data to confirm the followership indicators of teachers. The participants consisted of 600 administrators and teachers from secondary schools under the Office of the Basic Education Commission in Northeast in the academic year 2021, who were recruited using Multi-Stage Random Sampling. The research tools were a set of 5-rating scale questionnaires with an Item-Objective Congruence Index between 0.88 - 1.00, a discrimination power index between 0.26- 0.77 and reliability index at 0.99. The collected data were analyzed using confirmatory factor analysis. Phase 3 was the conduction of the manual on followership indicators of teachers, which was validated by five experts. A 5-level rating scale questionnaire was employed in the manual’s appropriateness evaluation. 

The findings were as follows. 

1. The teacher followership consisted of six fundamental components, 25 sub-components and 118 indicators, namely Human relations obtained 21 indicators, Bravery obtained 22 indicators, Critical thinking obtained 20 indicators, Responsibility obtained 22 indicators, Self-development obtained 13 indicators, and teamwork obtained 20 indicators. The overall components of teacher followership were appropriate at the highest level. The fundamental components which obtained the highest level of standardized factor loading was Human relations.

2. The structural model of teacher followership supported the specified hypothesis and revealed that the developed model congruent with empirical data with the Chi-Square (x2) of 40.67, df of 42, p-value of .53, the good fit index (GFI) of 0.99, the adjusted goodness-of-fit index (AGFI of 0.96, and the mean square error of approximation (RMSEA) of 0.00.    

3. The manual for followership indicators implementation was appropriate at a high level.
 

คำสำคัญ
การพัฒนาตัวบ่งชี้ ภาวะผู้ตามของครู ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา
Keywords
Indicator Development, Teacher Followership, Secondary School Teachers
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,315.81 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:28:07
View 507 ครั้ง


^