ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Administrative Factors Affecting Effectiveness of School Administration Under the Office of Secondary Educational Service Area in Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
สุรชัย พรมปากดี รหัส 63421229101 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 65 คน และครูผู้สอน จำนวน 260 คน รวมทั้งสิ้น 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 ปัจจัยทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .469 - .880 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .977 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .591 - .853 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

3. ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนขนาดแตกต่างกัน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

4. ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01

6. ปัจจัยทางการบริหาร ด้านการบริหารจัดการ งบประมาณ และการพัฒนาบุคลากร มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ 
ได้ดังนี้
            Y’ = .200 + .333 (X7) + .303 (X8) + .143 (X5) + .094 (X3) + .082 (X6)


            และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้


            Zy’ = .334 (Z7) + .331 (Z8) + .156 (Z5) + .094 (Z3) + .087 (Z6)

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหาร 5 ด้าน ได้แก่

7.1 การบริหารจัดการ กำหนดวิสัยทัศน์ร่วม เพื่อความสำเร็จของสถานศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เน้นการทำงานเป็นทีมจัดการแบบมีส่วนร่วม

7.2 งบประมาณ จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนพัฒนาใช้การมีส่วนร่วมในการพิจารณาโครงการ

7.3 การพัฒนาบุคลากร เปิดโอกาสให้พัฒนาตนเอง เช่นการประชุม สัมมนา ศึกษาต่อ มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

7.4 บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ กำหนดทิศทางการนำองค์การ บริหารภาพลักษณ์ และสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม และให้เกียรติผู้อาวุโส ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง มอบหมายงานที่ชัดเจน

7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศมีนโยบาย มีแผนงานในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนางาน
 

Abstract

The purpose of this research was to study administrative factors affecting the effectiveness of school administration under Nakhon Phanom Secondary Education Service Area Office. The sample group used in the research were school administrators. and teachers under the Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office Classified into 65 school administrators and 260 teachers, totaling 325 people. The research instrument was a 5-level questionnaire, 2 aspects. The discriminant power was between .469 - .880 and the confidence value was .977. The second aspect was the effectiveness of school administration. The classification power was between .591 - .853 and the confidence value was .980. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested using t-test analysis, F-test (One-way ANOVA), Pearson's Product-Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression analysis. Analysis) 

The results of the research revealed that

1. Administrative Factors and Administration Effectiveness of Schools Under the Nakhon Phanom Secondary Education Service Area Office According to the opinions of the school administrators and teachers, the overall level was at a high level.

2. Administrative factors and administrative effectiveness of schools under the Nakhon Phanom Secondary Education Service Area Office According to the opinions of school administrators and teachers, overall, there was no difference.

3. Administrative Factors and Administration Effectiveness of Schools Under the Nakhon Phanom Secondary Education Service Area Office according to the 
opinions of the school administrators and teachers working in schools of different sizes overall were not different.

4. Administrative factors and administrative effectiveness of schools under the Nakhon Phanom Secondary Education Service Area Office According to the opinions of the school administrators and teachers who had different working experiences, overall, they were not different.

5. Relationship between administrative factors and administrative effectiveness of schools under Nakhon Phanom Secondary Education Service Area Office There was a statistically significant positive correlation at the .01 level.

6. Administrative factors of schools under the Nakhon Phanom Secondary Education Service Area Office Management, budget and human resource development have the power to predict the effectiveness of school administration Overall, it was statistically significant at the .01 level of atmosphere and organizational culture. and information technology have the power to predict the effectiveness of school administration Overall, it was statistically significant at the .05 level.


            The equation for multiple regression analysis can be written in raw score form as follows:
            Y’ = .200 + .333 (X7) + .303 (X8) + .143 (X5) + .094 (X3) + .082 (X6)


            and can write the regression analysis equation in standard score form as follows
            Zy’ = .334 (Z7) + .331 (Z8) + .156 (Z5) + .094 (Z3) + .087 (Z6)

7. Administrative factors that should be developed in 5 areas:

7.1 Management Establish a common vision for the success of educational institutions both quantitatively and qualitatively Emphasis on teamwork, participatory management

7.2 Budget: Prepare an action plan according to the development plan, using participation in project considerations.

7.3 Personnel development Opportunity to develop yourself such as meetings, seminars, continuing education, sharing knowledge

7.4 Organizational atmosphere and culture set the direction of leading the organization image management and create social responsibility and honor the elders perform duties according to orders Assign clear tasks

7.5 Information technology has a policy There is a roadmap for using information technology in teaching and learning management. and work development
 

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน
Keywords
Administrative Factors, Effectiveness of School Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,255.77 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 กุมภาพันธ์ 2566 - 10:26:03
View 463 ครั้ง


^