ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Relationship between Participatory Management and the Effectiveness of School Administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
วัชรากร ชวดกลางลา รหัส 63421229102 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ , ดร.สุมัทนา หาญสุริย์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 350 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 52 คน หัวหน้ากลุ่มงาน 143 คน และครูผู้สอน 155 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .634 - .873 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .973 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก .522 - .909 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .990 และแบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 

4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับประสิทธิผลในการบริหารงานโรงเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (rXY=.891) อย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .01 

6. แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เสนอแนะไว้ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลโรงเรียน ควรมีเกณฑ์การประเมินและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายผ่านกระบวนการ PLC 2) ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ โรงเรียนควรคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านการประชุมสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการ 3) ด้านการไว้วางใจกัน บุคลากรในโรงเรียนต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและต้องกระจายอำนาจในการบริหารงานอย่าง เป็นธรรม 4) ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงาน โรงเรียนควรให้การสนับสนุนส่งเสริมบุคลากรได้รับการพัฒนา และยกย่องเชิดชูผลงาน 5) ด้านการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงานร่วมกัน มีการดำเนินงานอย่างชัดเจนเหมาะกับบริบทของโรงเรียนและมีการสร้างเครือข่ายในอุดมการณ์ร่วมกัน และ 6) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
 

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, investigate the relationship between participatory management and the effectiveness of school administration, and establish guidelines for developing participatory management that had a relationship with the effectiveness of school administration. The sample group, obtained through multi- Stage random sampling, consisted of 52 school administrators, 143 task group heads, and 155 teachers working under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021, yielding a total of 350 participants. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools for data collection were sets of 5-point scale questionnaires, comprising a set of questionnaires on participatory management with the discriminative power values ranging from .634 to .873 and the reliability of .973, and a set of questionnaires on the effectiveness of school administration with the discriminative power values ranging from .522 to .909 and the reliability of .990, and a structured interview form examining guidelines for developing participatory management that had the relationship with the effectiveness of school administration. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. 

The findings were as follows:

1. The participatory management was overall at a high level.

2. The effectiveness of school administration was overall at a high level.

3. The participatory management as perceived by participants, classified by positions and school sizes, was different at the .01 level of significance overall. Overall, there was no difference in terms of work experience.

4. The effectiveness of school administration as perceived by participants, classified by positions and school sizes, was different at the .01 level of significance overall. In terms of work experience, there was no difference overall.

5. The participatory management and the effectiveness of school administration had a relationship at a high level (rXY=.891) with the .01 level of significance.

6. The proposed guidelines for developing participatory management and the effectiveness of school administration consisted of six aspects: 1) Participation in School Assessment, schools should establish assessment standards, and all stakeholders’ viewpoints should be heard through the PLC process, 2) Participation in Benefits, schools should prioritize the benefits to students through meetings to build up understanding on administrative management, 3) Trusting, school personnel must have mutual trust. The administrative management must follow good governance principles and operate in a decentralized and equitable manner, and 4) Freedom to Work, schools should support and promote personnel development and performance appraisal and recognition, and 5) Setting Mutual Task Goals and Objectives, task operations should be tailored to suit school contexts and create a mutual ideological network, and 6) Decision-Making Participation, schools should promote the exchange of ideas to foster mutual understanding and the selection of the best options.
 

คำสำคัญ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน
Keywords
Participatory Management, Effectiveness of School Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,251.88 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:25:49
View 270 ครั้ง


^