ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Administrative Factors Affecting Schools’ Administrative Effectiveness Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ขวัญเพชร พลวงค์ รหัส 63421229106 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์  อำนาจพยากรณ์และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 342 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 68 คน ครูผู้สอน จำนวน  274 คน จากจำนวน 68 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.341 - 0.829 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.927 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product -Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยการบริหารโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

3. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาด ของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูงมาก (rxy= .930)  

5. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ (X7) ด้านการพัฒนาบุคลากร (X2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X3) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X1) และด้านงบประมาณที่ใช้ในการบริหารงาน (X5) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 92.8 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.09251

6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน คือ 6.1) ด้านวัฒนธรรมองค์การ โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาตนเองเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม 6.2) ด้านการพัฒนาบุคลากรโดยส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรให้มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพและอาชีพ 6.3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยพัฒนาความรู้แก่บุคลากรและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ 6.4) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ก้าวไกลและมีการสื่อสารในองค์กรที่ชัดเจน และ 6.5) ด้านงบประมาณที่ใช้ในการบริหารงานโดยใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ โปร่งใสและคุ้มค่าที่สุด
 

Abstract

The purposes of this correlational research were to study, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors affecting the schools' administrative effectiveness under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 as perceived by administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan table and Multi-Stage Random Sampling, which yielded a total of 342 participants consisting of 68 administrators and 274 teachers from 68 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in the 2021 academic year. The tools for data collection were a set of questionnaires with discrimination values ranging from 0.341  to 0.829 and the reliability of 0.927, and structured interviews. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. School administrative factors and the schools’ administration effectiveness were at a high level overall.

2. School administrative factors were different at the .01 level of significance overall in terms of positions, whereas in terms of school sizes, there were no differences overall. In terms of work experience, there were differences at the .01 level of significance overall.

3. Schools' administrative effectiveness, in terms of positions, was a difference at the .01 level of significance overall; In terms of school sizes, there was no difference overall; and in terms of work experience, there was a difference at the .01 level of significance overall.

4. School administrative factors and the schools' administrative effectiveness had a positive relationship at the .01 level of significance with a very high level (rxy= .930). 

5. School administrative factors were able to predict the schools' administrative effectiveness at the .01 level of significance with the predictive power of  92.8 percent comprising: organizational culture (X7), personnel development (X2), information technology (X3), transformational leadership (X1), and budget for administration (X5). The said variables were able predict the effectiveness if educational institution administration at 92.8 percent with a standard error of estimate of ±.09251.

6. This research proposed the guidelines for developing school administrative factors affecting schools’ administrative effectiveness covering five aspects: 6.1) Organizational Culture, school administrators have to develop themselves as role models with good morals and ethics; 6.2) Personnel Development, school administrators should promote and support personnel's career and professional advancement; 6.3) Information Technology, school administrators should provide knowledge for personnel and use information technology for administrative management; 6.4) Transformational Leadership, school administrators must have forward-looking visions and clear communication within organizations; and 6.5) The budget for administration should yield benefits, transparency, and maximize cost-effective usability.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหารโรงเรียน ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน
Keywords
School Administrative Factors, School Administrative Effectiveness.
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,267.16 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:15:16
View 692 ครั้ง


^