ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Super Leadership of School Administrators Affecting Administrative Effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
ชรินทร์ทิพย์ วงศ์ธรรม รหัส 63421229112 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 337 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำเหนือผู้นำ มีค่าอำนาจจำแนก 0.47-0.79 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก 0.37-0.81 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก  

2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก        

3. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน      

5. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ( rxy = .671**)

6. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร จำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความเป็นภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง และด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 55.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .21690 


    สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
        Y’ = 1.708 + .443 (Xg) + .153 (Xa)


    และสามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
        Z’ = .634 (Zg) + .189 (Za)

7. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนและเสริมสร้างความ พึงพอใจให้บุคลากรเกิดความรักความศรัทธา และผูกพันต่อองค์กร กระตุ้นให้บุคลากรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน กำหนดทิศทางและการจูงใจ มีการให้รางวัลผลความสำเร็จ และมีการติดตามตรวจสอบ และ 2) ด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้บุคลากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงออกให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม แนะนำบุคลากรถึงวิธีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและแนวทางปฏิบัติงานด้วยตนเอง ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และเปิดโอกาสให้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
 

Abstract

The purposes of this research aimed to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive Super Leadership of School Administrators Affecting Administrative Effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, and establish the guidelines for development Super Leadership under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The sample, obtained through Multi – Stage Random Sampling, were 337 school administrators and teacher under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon in the academic year 2021. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire containing two aspects: Aspect 1: The Super Leadership of School Administrators Competency with the discriminative power between 0.47 and 0.79 and the reliability of 0.97; Aspect 2 Administrative Effectiveness with the discriminative power between 0.37 and 0.81 and the reliability of 0.96. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and F-test (One – Way ANOVA), Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. Super Leadership of School Administrators was overall at a high level. 

2. Administrative Effectiveness in Schools was overall at a high level.

3. The comparison results revealed that the Super Leadership of School Administrators, classified by position, school size, and working experiences were different showed no difference. 

4. The comparison results revealed that the Administrative Effectiveness, classified by position, school size, and working experiences were different showed no difference.

5. Super Leadership of School Administrators Affecting Administrative Effectiveness had the positive relationship at a high level with the .01 level of significance. ( rxy = .671**)

6. The two aspects of Super Leadership of School Administrators consisting of Relationship & Collaborative – Facilitating a culture of self-leadership and the promotion of personnel to be their own leaders under the Secondary Education Service Area Office Sakon Nakhon with the predictive power of 55.10 percent and standard error of estimate of ± .21690. 

Multiple regression analysis equations can be written in raw score form as follows:

 Y’ = 1.708 + .443 (Xg) + .153 (Xa) 


and can write the equation of multiple regression analysis in standard score format as follows:

Z’ = .634 (Zg) + .189 (Za)


7. The proposed guidelines for developing Super Leadership of School Administrators Affecting Administrative Effectiveness under the Secondary Education Service Area Office Sakon Nakhon consisted of three aspects: 1) Facilitating a culture of self-leadership. School administrators support and enhance the satisfaction of personnel to create love, faith and commitment to the organization. Encourage personnel to build good relationships with each other to help facilitate work operations. Provide an environment that is conducive to work operations. direction and motivation Achievements are awarded. and has been monitored To focus on the development of work for maximum effectiveness. 2) The promotion of personnel to be their own leaders. School administrators encourage, support and encourage personnel to change their behavior and expressions in an appropriate direction. Introduce personnel on how to set a vision. Objectives and Manual Action Guidelines Encourage personnel to have knowledge and understanding of work Opportunity to use creativity.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน
Keywords
Super Leadership, Administrative Effectiveness of School
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,751.55 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 กุมภาพันธ์ 2566 - 14:12:28
View 354 ครั้ง


^