ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
School Administrators’ Competency Affecting School Effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
ปนัดดา สาริคา รหัส 63421229117 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ , ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 333 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 106 คน และครูผู้สอน จำนวน 227 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie & Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามด้านสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .403 - .861 มีค่าความเชื่อมั่นด้านสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนเท่ากับ .889 แบบสอบถามด้านประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .509 - .995 มีค่าความเชื่อมั่นด้านประสิทธิผลโรงเรียนเท่ากับ .922 และแบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

2. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความสัมพันธ์ของสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน พบว่า ตัวแปรที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มีจำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การสื่อสารและการจูงใจ (x6) การพัฒนาตนเอง (x3) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (x7) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ (x5) การมีวิสัยทัศน์ (x8) โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 66 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.36557

6. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน มีจำนวน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีทักษะการสื่อสาร และโน้มน้าวจูงใจที่ดี มีความเข้าใจในมุมมองของทุกฝ่าย 2) ด้านการพัฒนาตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการจัดทำคู่มือพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารในการพัฒนาตนเอง มีการอบรม และมีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ 3) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย และมีการนิเทศ กำกับ ติดตามส่งเสริม สนับสนุนและให้กำลังใจแก่บุคลากรที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 4) ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีกระบวนการคิดแยกและออกพิจารณา โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการบริหารงานที่ดี 5) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารโรงเรียนควรเป็นผู้นำในการกำหนดวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นภาพของความสำเร็จในองค์กรต่อไป
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, and identify the predictive power of school administrators’ competency affecting school effectiveness. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 106 school administrators and 227 teachers working under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon in the academic year 2021, yielding a total of 333 participants. The Krejcie & Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools for data collection were two sets of 5-point scale questionnaires, comprising a set on school administrators’ competency with the discriminative power values ranging from .403 to .861 and the reliability of .889, and a set on school effectiveness with the discriminative power values ranging from .509 to .995 and the reliability of .922, and a structured interview from examining guidelines for developing school administrators competency. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrator’s competency and school effectiveness were overall at a high level. 

2. The competency of school administrators as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, was different at the .01 level of significance overall.

3. The school effectiveness as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, was different at the .01 level of significance overall.

4. The school administrators’ competency and the school’s effectiveness had a positive relationship at the highest level with the .01 level of significance. 

5. The five aspects of school administrators’ competency consisting of Communication and Motivation (x6), Self-development (x3), Personnel Potential Development (x7), Analysis and Synthesis (x5), and Vision (x8), could predict the school effectiveness with the predictive power of 66 percent and the standard error of estimate of ±0.36557.

6. The proposed guidelines for developing school administrators’ competency consisted of five aspects: 1) Communication and Motivation, school administrators should have good communication and persuasion skills, and understand all parties’ perspectives, 2) Self-development, school administrators should establish a user manual for administrators’ core competencies development for self-development, provide training, and implement innovations, 3) Personnel Potential Development, school administrators should encourage personnel self-improvement through a variety of methods, set up supervision, and provide moral support for personnel success, 4) Analysis and Synthesis, school administrators should have synthesis thinking to create a better understanding of school administration, and 5) Vision, school administrators should be a leader in setting a broader vision and use the participation process of all stakeholders to achieve organizational success.
 

คำสำคัญ
สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
Competency of school Administrators, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 17,843.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:03:46
View 346 ครั้ง


^