ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Relationship Between Academic Leadership of School Administrators and the Effectiveness of Academic Administration in Primary Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ธีร์ธนพัชร ร้อยดาพันธุ์ รหัส 63421229121 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร , องศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 333 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 74 คน และครูผู้สอน จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .229 - .711 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .943 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .284 - .656 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .945 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียรสัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient)  

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูง  (r = .874)

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู 4) ด้านการพัฒนานักเรียนและ 5) ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, and establish guidelines for developing academic leadership of school administrators, and the effectiveness of academic administration in primary schools. The sample, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 74 school administrators, and 259 teachers, yielding a total of 333 participants from primary schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021. The Krejcie and Morgan’s table was also used for sample size determination. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire containing Aspect 1: School administrators’ academic leadership with the discriminative power from .229 to .711 and the reliability of .943, and Aspect 2: Effectiveness of primary schools’ academic administration with the discriminative power from .284 to .656 and the reliability of .945. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. 

The findings were as follows:

1. Academic leadership of school administrators and the effectiveness of primary schools’ academic administration as a whole were at a high level.

2. Academic leadership of school administrators and the effectiveness of primary schools’ academic administration, as perceived by participants with different positions, as a whole showed differences at the .01 level of significance.  

3. Academic leadership of school administrators and the effectiveness of primary schools’ academic administration, as perceived by participants with different work experiences, as a whole were different at the .01 level of significance.  

4. Academic Leadership of school administrators and the effectiveness of primary schools’ academic administration, as perceived by participants with different school sizes, as a whole were different at the .05 level of significance.  

5. Academic leadership of school administrators and the effectiveness of academic administration showed a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (r = .874).

6. The guidelines for developing academic leadership of school administrators included: 1) Determining vision, mission, and goal statements, 2) Curriculum and instruction development, 3) Teacher professional development, 4) Student development, and 5) Creating a conducive learning atmosphere.  
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
Academic Leadership of School Administrators, Effectiveness of Academic Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,509.50 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 กุมภาพันธ์ 2566 - 13:58:12
View 471 ครั้ง


^