ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Digital Leadership of Administrators Affecting School Effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
กันตชาติ กุดนอก รหัส 63421229134 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ , รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 91 คน และครูผู้สอน 251 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 342 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางกำหนดขนาดของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .492-.843 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .977 และแบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .516-.773 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .965 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง (rxy=.629) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 58.60และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.27376

7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล ควรใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวัดผลนักเรียน 2) ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ใช้เพื่อปรับปรุงการสอน เผยแพร่แนวทางการสอนที่ดีและผู้บริหารคอยอำนวยความสะดวกและ 3) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควรมีการสร้างความตระหนักและกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
 

Abstract

The purposes of this research aimed to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ digital leadership affecting school effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample consisted of 91 school administrators, and 251 teachers, yielding a total of 342 participants from schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, in the academic year 2021. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan Table, and multi-stage random sampling. The tools for data collection were sets of 5-rating scale questionnaires, including a set on the digital leadership of school administrators with the discriminative power ranging from .492 to .843 and the reliability of .977, and a set on the school effectiveness with the discriminative power ranging from .516 to .773, and the reliability of .965. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test for Independent Samples, One–Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrators’ digital leadership was overall at a high level.

2. The school effectiveness was overall at a high level.

3. The comparison results revealed that the digital leadership of school administrators as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, was different at the .01 level of significance overall. 

4. The comparison results revealed that the school effectiveness as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, was at the .01 level of significance overall. 

5. The relationship between the digital leadership of school administrators and the school effectiveness had a positive relationship with a moderate level (rxy=.629) at the .01 level of significance.

6. The three aspects of the digital leadership of school administrators consisting of Supporting Technology Use in Measurement and Evaluation, Supporting Learning and Teaching with Digital Technology, and Ethics for Technology Use, could predict the school effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 with the predictive power of 58.60 percent and the standard error of estimate of ±0.27376.

7. The proposed guidelines for developing the digital leadership of school administrators affecting school effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 consisted of three aspects: Supporting Technology Use in Measurement and Evaluation, Supporting Learning and Teaching with Digital Technology, and Ethics for Technology Use.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Digital Leadership of School Administrators, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,823.55 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 มกราคม 2566 - 10:56:01
View 1241 ครั้ง


^