ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Desirable Characteristics of Administrators Affecting the Administrative Effectiveness in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
อรอนงค์ เทียบอุดม รหัส 63421229143 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน และหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 317 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 78 คน และครูผู้สอน จำนวน 239 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 มีค่าอำนาจจำแนก 0.47 – 0.89 และประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 มีค่าอำนาจจำแนก 0.61 – 0.91 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

 3. ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

4. ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนโดยรวม อยู่ในระดับสูง (r = 0.860) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X8) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (X9) และด้านการมีวิสัยทัศน์ (X1) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 79.00 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้  


            Y’ = 0.19 + 0.46 X8 + 0.30 X9 + 0.20 X1  


            Z’ = 0.44 ZX8 + 0.30 ZX9 + 0.21 ZX1

7. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารควรให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน กระจายงาน มอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถของแต่ละคน และศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารควรกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีขวัญและกำลังใจ มีการยกย่องชมเชย มีการเสริมแรงสร้างพลังบวก มีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บริหารต้องรู้จักจูงใจ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน และ 3) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการ พัฒนาความรู้ความสามารถอย่างสม่ำเสมอ มองถึงอนาคต เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และนำไปสู่การปฏิบัติ และกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย เป้าประสงค์และพันธกิจของการปฏิบัติงานในโรงเรียน
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, and identify the predictive power of administrators’ desirable characteristics and the school administrative effectiveness as perceived by school administrators and teachers, and establish guidelines for developing desirable characteristics of administrators affecting the administrative effectiveness in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The samples, obtained through stratified random sampling, were 317 participants, including 78 school administrators and 239 teachers working in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom in the 2021 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires on desirable characteristics of school administrators and the school administrative effectiveness, which reached the reliability of 0.99, 0.98, and the discriminative power from 0.47 to 0.89 and from 0.61 to 0.91, respectively, and an interview form on guidelines for developing administrators’ desirable characteristics affecting the school administrative effectiveness. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), One – Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.   

The findings were as follows:

1. The desirable characteristics of school administrators were overall at a high level.

2. The desirable characteristics of school administrators, classified by different positions, school sizes, and work experience, showed no differences overall.

3. The school administrative effectiveness was overall at a high level.

4. The school administrative effectiveness, classified by different positions, school sizes, and work experience, showed no differences overall.

5. The desirable characteristics of school administrators and the school administrative effectiveness had a positive relationship at a high level (r = 0.860) with the .01 level of significance. 

6. The desirable characteristics of school administrators comprised three aspects that were able to predict the school administrative effectiveness with 79.00 percent at the .01 level of significance, including participative management (X8), inspiration (X9), and vision (X1). The regression equation could be summarized in raw scores and standardized score forms as follows:


             Y’ = 0.19 + 0.46 X8 + 0.30 X9 + 0.20 X1 


            Z’ = 0.44 ZX8 + 0.30 ZX9 + 0.21 ZX1

7. The guidelines for developing desirable characteristics of administrators affecting the school administrative effectiveness involved three aspects: 1) Participative Management-administrators should involve teachers’ participation and assign tasks to subordinates according to individuals’ knowledge and abilities; 2) Inspiration- administrators should sustain all personnel’ morale, provide rewards/recognition and positive reinforcement, be a good role model, and motivate subordinates to create work inspiration, and 3) Vision- Administrators must possess academic leadership, continuous knowledge and skill development, aim at looking toward the future to establish and implement visions, and encourage all personnel to participate in setting visions, goals, target goals, and missions of school operations.
 

คำสำคัญ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหาร ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน
Keywords
Administrators’ Desirable Characteristics, School Administrative Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,347.74 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 กุมภาพันธ์ 2566 - 10:24:35
View 323 ครั้ง


^