ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
Development of team Leadership Indicators of Administrators in schools under the Secondary Educational Service area office Bueng Kan
ผู้จัดทำ
ภัทราภรณ์ หลอดเหลา รหัส 63421247101 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน 2) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) พัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน และระยะที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูและผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 300 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.31-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 และระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ ซึ่งประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน   

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทีม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย การแก้ไขความขัดแย้ง การสื่อสาร และบทบาทงาน  

2. ภาวะผู้นำทีม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย 60 ตัวบ่งชี้ 

3. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi–square = 18.45, df = 30, p-value = 0.9507, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, RMSEA = 0, CN = 430.79) 

4. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทีม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
 

Abstract

The aimed of this research were to: 1) identify the components of team leadership of school administrators, 2) construct team leadership indicators of school administrators, and 3) examine the congruence of the structure model on team leadership indicators of school administrators with empirical data and 4) develop a manual of team leadership indicators of school administrators. The research procedures were conducted in four phases; Phase 1 was the study of team leadership of school administrators, Phase 2 was Indicator Development, Phase 3 was validation of the structure model on team leadership indicators of school administrators with empirical data. The participants comprised 300 teachers and administrators, selected using Stratified sampling. The data were collected using a 5-level rating scale questionnaire with validity index between 0.60-1.00, discrimination power index between 0.31-1.00, reliability index at 0.98, and Phase 4 was the develop an indicator manual which was evaluated for the suitability by 5 experts.

The results showed that,

1. Team leadership consisted of four main components: Goal setting; Conflict resolution, Communication, and Job roles.

2. Team Leadership consisted 15 sub-elements and 60 indicators.

3. Team Leadership Indicators structural model was congruent with the empirical data (Chi – square = 18.45, df = 30, p-value = 0.95077, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, RMSEA = 0, CN = 430.79). 

4. The Team Leadership Indicator manual was appropriate at the highest level.
 

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำทีม ผู้บริหารโรงเรียน
Keywords
Indicators, Team Leadership, School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,537.74 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 กุมภาพันธ์ 2566 - 14:45:42
View 559 ครั้ง


^