ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน บุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Application of the Virtues of the King Affecting Personnel Management Effectiveness of School Administrators under The Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
ณัฐนพิน ทินโน รหัส 63421247122 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.บุญมี ก่อบุญ , รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 346 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.40-0.93 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) การวางแผนอัตรากำลัง 2) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง 3) การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ 4) การออกจากราชการ และ 5) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

2. การใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 

3. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

4. ความสัมพันธ์ของการใช้หลักทศพิธราชธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูง อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01

5. การใช้หลักทศพิธราชธรรม ด้านความอดทน (ขันติ) (X9) และ ด้านความซื่อตรง (อาชชวะ) (X4) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา (Y) อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.20 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
                Y’ = 0.88 + 0.50X9 + 0.29X4
            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
                Z’y = 0.57Z9 + 0.34Z4

6. แนวทางในการพัฒนาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ด้าน คือ ด้านความซื่อตรง (อาชชวะ) และด้านความอดทน (ขันติ)
 

Abstract

The purpose of this study was to investigate the application of the Virtues of the King that affected to personnel management effectiveness of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The samples of this study included 346 participants of administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom in academic year 2021. The participants were selected using stratified random sampling. The instrument used in data collection was a set of 5-rating scale questionnaire, which showed validity index ranged between 0.60-1.00, discrimination index ranged between 0.40-0.93 and reliability index was at 0.98. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation, stepwise multiple regression analysis and confirmatory factor analysis.

The findings were as follows.

1. There were five components of personnel management of school administrators, namely 1) Manpower planning, 2) Recruitment and selection, 3) Disciplinary actions and punishment, 4) Retirement and 5) Enhancement of effective government official duties.    

2. The application of the Virtues of the King of school administrators, in overall, was at high level.  

3. The effectiveness of personnel management of school administrators, in overall, was at high level.

4. The correlation between the application of the Virtues of the King and the effectiveness of personnel management of school administrators showed positive correlation at high level with statistical significance at .01.

5. The application of the Virtues of the King in patience (Khạnti) (X9) and honesty (Ashava) (X4) were able to predict the effectiveness of personnel management of school administrators with statistical significance at .01, and obtained a predictive power at 77.20.

The equation could be summarized in raw scores: 
                Y’ = 0.88 + 0.50X9 + 0.29X4
            The predictive equation standardized scores: 
                Z’y = 0.57Z9 + 0.34Z4

6. The guideline to develop the application of the Virtues of the King that affected personnel management effectiveness of school administrators comprised two aspects, namely patience (Khạnti) and honesty (Ashava).
 

คำสำคัญ
ทศพิธราชธรรม ประสิทธิผล การบริหารงานบุคคล
Keywords
The Virtues of the King, Effectiveness, Personnel management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,335.42 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 สิงหาคม 2566 - 10:46:58
View 211 ครั้ง


^