ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Development of Academic Administration Competency Indicators for School Administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
เจษฎา กลยนีย์ รหัส 63421247127 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.บุญมี ก่อบุญ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) พัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา การดำเนินการมี 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60–1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.30-0.78 ค่าความเชื่อมั่น 0.97 และระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การบริหารจัดการการเรียนรู้ 2) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และ 5) การจัดหาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

2. ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย 65 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นองค์ประกอบหลัก 1 การบริหารจัดการการเรียนรู้ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลัก 2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลัก 3 การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลัก 4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบหลัก 5 การจัดหาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้  

3. โมเดลโครงสร้างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 81.08, df = 67, p-value = 0.11566, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.023, CN=460.60) และค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ระหว่าง 0.34–0.51

4. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
 

Abstract

This study aimed to 1) identify the components of academic administration competency for school administrators, 2) develop academic administration competency indicators for school administrators 3) examine the congruence between the structural model of academic administration competency indicators for school administrators and 4) develop a manual of academic administration competency indicators implementation. The study was divided into four phases. Phase 1 was the intensive review of academic administration competency of school administrators. Phase 2 was the development of academic administration competency indicators for school administrators. Phase 3 was the examination of the congruence between the developed structural model of academic administration competency indicators for school administrators with empirical data. The participants comprised 400 administrators and teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. They were selected using Multi-Stage Random Sampling. The instrument used in data collection was a five-level rating scale questionnaire with validity Index between 0.60-1.00, discrimination power index between 0.30-0.78, reliability index was at 0.97. And phase 4 was the development of the manual of academic administration competency indicators implementation. The manual was validated by 5 experts. The collected data were analyzed using statistical software program. 

The results found that:  

1. The components of academic administration competency of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 comprised five elements, namely 1) Learning management, 2) School-based curriculum development, 3) Learning supervision, 4) Research conduction to improve learning quality and 5) Procurement of media, innovation, information and technology for learning management.  

2. Academic administration competency indicators for school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 consisted of five fundamental elements and 19 sub-elements, 65 indicators, which could be described as Learning management obtained 12 indicators, School-based curriculum development obtained 19 indicators, Learning supervision obtained 14 indicators, Research conduction to improve learning quality obtained 12 indicators and Procurement of media, innovation, information and technology for learning management obtained 8 indicators.

3. The model of structure of developed academic administration competency indicators for school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 congruent with empirical data with Chi-square = 81.08, df = 67, p-value = 0.11566, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.023, CN=460.60 and the factor loading was between 0.34–0.51.

4. The manual of academic administration competency indicators implementation for school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 was appropriate at the highest level.
 

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้ สมรรถนะ การบริหารงานวิชาการ
Keywords
Indicator, Competency, Academic Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,461.61 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:28:37
View 303 ครั้ง


^