ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
Work Motivation Affecting Happiness at Work for the Personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2
ผู้จัดทำ
ณัฐฐินันท์ ศรีนุกูล รหัส 63426423104 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สามารถ อัยกร , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2  จำนวน 179 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 

1. แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x =3.91) และความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =3.98)

2. ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 แตกต่างกันตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านจังหวัดที่ปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความแตกต่างกัน

3. แรงจูงใจในการทำงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านโอกาสก้าวหน้า ด้านลักษณะของงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านสถานะของอาชีพ และด้านการได้รับการพัฒนา มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านความรับผิดชอบมีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยองค์ประกอบดังกล่าวสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ได้ร้อยละ 94.90 (R2Adj=.949)
 

Abstract

The purposes of the research included the following: 1) To study the level of work motivation and happiness at work for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2, 2) To compare the level of happiness at work for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2 when being classified by personal characteristics, 3) To investigate the influences of work motivation and happiness at work for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2. The samples consisted of 179 personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2. They were gained by stratified random sampling technique. The questionnaire was used as a data collection tool and the statistics employed for data analysis were composed of frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test, One-way ANOVA, and Multiple Regression Analysis.

The study revealed these results:

1. The work motivation for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2, as a whole, was at the high level (x =3.91). The overall happiness at work for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2 was also at a high level. ( x=3.98).

2. Based on different provinces where these personnel worked, the happiness at work for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2 significantly differed at .05 statistical level. However, when comparing their happiness based on the varied genders, ages, educational backgrounds, work experiences, and monthly incomes, their happiness at work did not differ. 

3. Regarding work motivation, it was found that these aspects significantly influenced on happiness at work for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2 at .01 statistical level: job security/stability, opportunity for professional progress, job characteristics, work policy and administration, recognition, and career status and development. At the same time, the responsibility of the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2 statistically influenced on their happiness at work at .05 level of significance. Altogether, these components could be used to correctly predict the happiness at work for the personnel of the Ministry of Labor in the Upper Northeastern Region 2, 94.90% (R2Adj=.949).
 

คำสำคัญ
แรงจูงใจในการทำงาน, ความสุขในการทำงาน
Keywords
Work Motivation, Happiness at Work
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,389.31 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 มีนาคม 2566 - 09:42:43
View 343 ครั้ง


^