ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
Strategic Leadership and Motivation to Work Affecting Performance Efficiency of the Personnel of the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province
ผู้จัดทำ
วีระวัฒน์ ชาแสน รหัส 63426423109 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 2) อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม จำนวน 204 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .869 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.379-0.815 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.82) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.92) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.96)

          2. ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 86.90 (R2Adj=.869) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ พบว่า ตัวแปรที่มีค่าอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ วิธีการคิดเชิงปฏิวัติ การกำหนดวิสัยทัศน์ ความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ .684 .266 และ.124 ตามลำดับ

          3. ตัวแปรปัจจัยจูงใจของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ

นาแก จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 77.10 (R2Adj=.771) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรปัจจัยจูงใจของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ตัวแปรที่มีค่าอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ โอกาสก้าวหน้า ความสำเร็จของงาน การได้รับการพัฒนา และลักษณะของงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ .382 .240 และ .157 ตามลำดับ

          ตัวแปรปัจจัยค้ำจุนของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 86.50 (R2Adj=.865) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรปัจจัยค้ำจุน พบว่า ตัวแปรที่มีค่าอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน สถานะของอาชีพ การนิเทศงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ .619 .322 .256 .077 และ .070 ตามลำดับ

Abstract

         The purposes of this study included the following: 1) To investigate the administrators’ strategic leadership and motivation to work, and the personnel’s performance efficiency in the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province, 2) To examine the influences of the strategic leadership on the performance efficiency of the Local Administrative Organizations’ personnel, and 3) To study the influences of motivation to work on the performance efficiency of the Local Administrative Organizations’ personnel. The samples consisted of 204 personnel of the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province. They were obtained through stratified random sampling technique. A questionnaire with .869 reliability and 0.379-0.815 discrimination was employed as the data collection tool while statistics used for data analysis were composed of frequency, percentage, mean, standard deviation and Multiple Regression Analysis.

          The study revealed these results:

          1. The  strategic leadership of the administrators of the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province, as a whole, was at the high level (x=3.82). Likewise, the motivation to work of the personnel of the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province (x=3.92) as well as their performance efficiency (x=3.96) were also at the high levels.

          2. The variables of strategic leadership could be used jointly to correctly predict the performance efficiency of the personnel of the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province 86.90% (R2Adj=.869) at .01 statistical level of significance. Considering each variable, these variables had high influences: revolutionary thinking, establishing/creating vision, gathering multiple inputs to formulate the strategy; they contained the forecasting coefficients of  .684 .266 and .124, respectively.

         3. The variables of motivation to work could be used jointly to correctly predict the performance efficiency of the personnel of the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province 77.10% (R2Adj=.771) at .05 statistical level of significance. Contemplating each variable, these variables had high influences: progress opportunity, job achievement, receiving development, and job traits; they possessed the forecasting coefficients of .382 .240 and .157, respectively.

          Altogether, these sustaining factors of the motivation to work could be used to accurately predict the performance efficiency of the personnel of the Local Administrative Organizations in Na Kae District, Nakhon Phanom Province 86.50% (R2Adj=.865) at .05 statistical level of significance. Considering each sustaining factor, these factors had high influences: policy and work administration, career status, job supervision, relationships with colleagues, salary and welfare/benefits; these variables contained the predictive coefficients of .619 .322 .256 .077 and .070, respectively.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
Keywords
Strategic leadership, motivation to work, performance efficiency
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,844.40 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 13:12:10
View 109 ครั้ง


^