สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และระดับประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ระดับปัจจัยการบริหารของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.13) และประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x= 4.28)
2) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยผลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .354) รองลงมา คือ ปัจจัยการบริหารด้านภาวะผู้นำ (β = .208) ด้านวัฒนธรรมองค์กร (β = .193) ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .338 อธิบายได้ว่าปัจจัยการบริหารทำนายประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 33.80 (Adjusted R2 = .338)
3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ควรมีการนำระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการให้บริการด้านด้านการบริการและส่งต่อฐานข้อมูลต่าง ๆ ควรมีการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนเรื่องร้องเรียนผ่านกระดาษแบบฟอร์มการร้องเรียน และควรมีการประชาสัมพันธ์อำนาจหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และประชาสัมพันธ์ขั้นตอน วิธีการ และสิ่งที่ต้องเตรียมประกอบการร้องเรียนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการบริการและการส่งต่อตามลำดับขั้นตอนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ควรส่งเสริมบุคลากรได้เข้ารับการอบรม ฝึกประสบการณ์ให้มีความชำนาญ ความเชี่ยวชาญในการให้บริการรับเรื่องร้องเรียน–ร้องทุกข์ เพื่อจะได้นำความรู้มาปฏิบัติงานให้ถูก ต้องและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ที่นั่งรอ ที่จอดรถ ห้องน้ำ น้ำดื่ม ให้เพียงพอต่อจำนวนประชาชนที่มาใช้บริการ
The purposes of this research were 1) to study the level of administrative factors of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province and the effectiveness level of operating the missions of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province, 2) to investigate the influences of the administrative factors on the mission effectiveness of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province, and 3) to explore and gain guidelines for developing the effectiveness of operating the missions of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province. The sample group as well as the target group included 270 government officials and staff who handled the people’s complaints in every sub-district, district and the province for Mueang Sakon Nakhon Damrongtham Center. The tool used for data collection was a questionnaire and statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean ( x), standard deviation (S.D.), and Multiple Linear Regression Analysis.
The study revealed these results:
1. The overall administrative factors of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province, were at a high level ( x= 4.13) while the effectiveness of operating the missions of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province, as a whole, was also at a high level ( x= 4.28).
2) Administrative factors significantly influenced on the effectiveness of operating the missions of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province, at <.05 statistical level. Of all these administrative factors, the information technology contained the most influence (β = .354). At the same time, the leadership gained the second most influence (β = .208), and the organizational culture had the third most influence (β = .193), respectively. With the predictive coefficient of .338, it could be explained that these administrative factors could be used to correctly predict the effectiveness of operating the missions of Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province, 33.80% (Adjusted R2 = .338).
3) Many guidelines were obtained for improving the effectiveness of operating the missions of the Damrongtham Center, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province. The online computer system, information technology system, as well as other innovations should be provided for the services and database transfer.An electronic complaint system should be developed instead of using paper-based writing forms. Mueang Sakon Nakhon Dhamrongtham Center’s authorities and missions together with its procedures, methods and documents required for filing the complaints should be publicized to speed up and facilitate the orders of the processes. The personnel of Dhamrongtham Center should be sent to attend trainings so that they would have knowledge, experience and expertise needed for receiving and tackling complaints. The tasks of these personnel should be improved for better efficiency. The Center should be adequately equipped with various facilitators such as people’s seats for service users, parking lot, restrooms, drinking water, and so on.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,739.88 KB |