ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11
The Causal Relationship Model of Effectiveness of Internal Quality Assurance in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11
ผู้จัดทำ
เมธี นาอุดม รหัส 63632250113 ระดับ ปริญญาเอก
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 และระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำมาศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11  ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 สร้างโมเดลสมมติฐาน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเป็นการศึกษาหลักการ ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา ขั้นที่ 2 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2564  จำนวน 1,120 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 560 คน ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายใน จำนวน 560 คน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนเดียวกันจาก 560 โรงเรียน ระยะที่ 3 การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้น โดยใช้สถิติ ไค-สเควร์ (Chi-Square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติขั้นสูงและจัดทำการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 10 คน

             ผลการวิจัยพบว่า

                  1. ประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำมาศึกษาประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมโรงเรียน การจัดการเรียนรู้ของครู และการบริหารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

                 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคว์-สแควร์ (χ2) มีค่าเท่ากับ 131.25 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 110  ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.08165, ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (χ2/df) เท่ากับ 1.19 นั่นคือ โมเดลมีความกลมกลืนดี แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลักที่ว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้น สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.97 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ .003 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) มีค่าเท่ากับ .90 ค่า (RMSEA) มีค่า เท่ากับ 0.0131 ค่า (CN) เท่ากับ 1252.51 และค่า (CFI) เท่ากับ 1.00 และนำโมเดลไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ยืนยัน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ ทุกคน ยืนยันโมเดลตามผลการวิเคราะห์

                 3. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ศึกษาธิการภาค 11 ดังนี้ 1) ปัจจัยภาวะผู้นำของผู้บริหารพัฒนาโดยผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) วัฒนธรรมโรงเรียนพัฒนาโดยผู้บริหารและคณะครูจะต้องสร้างความตระหนักให้บุคลากรในองค์กรเห็นคุณค่าและความสำคัญของการทำงานร่วมกัน 3) การจัดเรียนรู้ของครูพัฒนาโดยผู้บริหารจะต้องดำเนินการให้โรงเรียนสร้างเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพและ 4) ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยให้มีการระดมความความคิดทำให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลาย

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the level of effectiveness of quality assurance in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11 and level of causal factors that were studied 2) to examine the causal relationship model of internal quality assurance effectiveness elementary school, 3) to establish  the guidelines for developing factors affecting the effectiveness of quality assurance in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11. The research was divided into 3 phases, consisting of: Phase 1: creating a hypothesis model with the following steps: Step 1: study and analysis of documents is a study of principles, theories, and concepts about factors affecting insurance effectiveness quality assurance within primary schools. Step 2: a study of factors affecting the effectiveness of quality assurance work within primary schools from 5 experts. Phase 2: checking for consistency with empirical data. The sample group consisted of school administrators and teachers responsible for quality assurance within primary schools in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11, academic year 2021, 1,120 people, consisting of 560 school administrators, 560 teachers responsible for internal quality assurance, who work in the same school out of 560 schools. Phase 3: Find ways to develop factors that affect the effectiveness of quality assurance work in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11 by analyzing structural equation modeling (SEM) and linear model analysis using Chi-Square statistics. The data were analyzed using SPSS and LISREL software packages quantitative data by advanced statistics. Conduct a focus group discussion of 10 people.

             The findings were as follows:

                 1. The level of Effectiveness of Internal Quality Assurance in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11 the average is at a high level and the causal factors that were studied include executive leadership, school culture, teacher learning management and participative management. All of the factors were averaged at a high level. 

                 2. The Causal Relationship Model of Effectiveness of Internal Quality Assurance in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11 is consistent with the empirical data. The quasi-square (χ2) is 131.25, the degrees of freedom (df) is 110, the probability (p-value) is 0.08165, the chi-square relative (χ2/df) is 1.19. That is the model is well harmonized.  It shows that the main hypothesis is accepted that the causal relationship model of factors affecting quality assurance effectiveness within primary schools developed harmoniously with empirical data which is consistent with the analysis results, the GFI is 0.99, the adjusted AGFI is 0.97, which is close to 1, and the root mean square index of the remainder (RMR) has a value of .003, which approaches zero and the forecasting coefficient (R2) is .90, (RMSEA) is 0.0131, (CN) is 1252.51, and (CFI) is 1.00. The model is given 10 experts confirmed. It was found that all experts confirmed the model according to the analysis results.

                 3. This research proposed the guidelines for developing factors that directly affect the effectiveness of quality assurance in Primary Schools Area the Regional Education Office No.11, 1) Leadership factors of executives developed by executives must have academic leadership. 2) The school culture developed by administrators and teachers must create awareness among personnel in the organization to see the value and importance of working together. Organizing the learning process to be effective and 3) Executives must encourage brainstorming to create diverse opinions. 4) Executives must promote participatory management by brainstorming ideas to create diverse opinions.

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประสิทธิผลงานประกันคุณภาพภาย ในโรงเรียนประถมศึกษา
Keywords
The Causal Relationship Model, Effectiveness of Internal Quality Assurance in Primary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,000.00 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 08:41:39
View 107 ครั้ง


^