ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Administration Based on Good Governance Principles of Administrators Affecting Personnel Administration in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
เพลงไพลิน สินธนันชัย รหัส 64421229108 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาอำนาจพยากรณ์ของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลและการหาแนวทางพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และครูที่รับผิดชอบงานบริหารบุคคล จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มีจำนวน 339 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 98 คน ครูผู้สอน จำนวน 196 คน และและครูที่รับผิดชอบงานบริหารบุคคล จำนวน 45 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยเลือกโรงเรียนทุกโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 และการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

4. การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

5. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร กับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (rxy = 0.919)

6. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ที่สามารถพยากรณ์การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความมีส่วนร่วม และด้านหลักความรับผิดชอบ ได้ร้อยละ 84.60 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±0.26480

7. การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลัก 4 ด้านธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครไว้ด้วย
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, and determine the predictive power of administration based on good governance principles of administrators that affected personnel administration in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, as perceived by participants classified by position, school sizes, and work experience. The sample group consisted of 339 participants, including 98 school administrators, 196 teachers, and 45 teachers in charge of personnel administration. The sample size was determined through Krejcie and Morgan formula table, and stratified random sampling, with each school as a random sampling unit. The instrument for data collection included sets of 5-level rating scale questionnaires: a set of questionnaires on administrators’ administration based on good governance principles with the reliability of 0.976 and a set of questionnaires on school personnel administration with the reliability of 0.970. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The results revealed that:

1. The administrators’ administration based on good governance principles was overall at a high level.

2. The personnel administration in schools was overall at a high level.

3. The administrators’ administration based on good governance principles, classified by position, was overall at the .01 level of significance, whereas there was no difference overall in terms of school sizes, and work experience.

4. The personnel administration in schools, classified by position, was overall and in each aspect, showed differences at the .01 level of significance, whereas there was no difference overall in terms of school sizes and work experience.

5. The relationship between administrators’ administration based on good governance principles and personnel administration in schools was positive at the .01 level of significance with a very high level (rxy = 0.919).

6. The administrators’ administration based on good governance principles, consisting of four aspects, namely cost-effectiveness, morality, participation, and responsibility, could predict school personnel administration at the .01 level of significance with an accuracy of 84.60 percent and a standard error of estimate of ± 0.26480. 

7. The research has also proposed guidelines for developing administration for administrators based on four good governance principles affecting personnel administration in schools under the Secondary Education Service Area Office Sakon Nakhon.
 

คำสำคัญ
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน
Keywords
Administration Based on Good Governance Principles, School Personnel Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,722.14 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 พฤศจิกายน 2566 - 14:00:55
View 376 ครั้ง


^