สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 325 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.943 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.341 - 0.810 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร และประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารและประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร (X) กับประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Y) โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูง (rXY =0.845)
4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ทางดิจิทัล ด้านการพัฒนาบุคลากรทางดิจิทัล ด้านการบูรณาการการเรียนรู้ทางดิจิทัล ด้านจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมเรียนรู้ทางดิจิทัล และด้านการสนับสนุนการใช้ดิจิทัลในการวัดและประเมินผล โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 71.1 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.19910
5. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารทั้ง 6 ด้านที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไว้ด้วย
The purposes of this correlational research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing digital leadership of administrators affecting the operational effectiveness of the student assistance system in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of school administrators, teachers in charge of the student assistance system, and classroom teachers in the academic year 2023, yielding a total of 325 participants. The sample size was also calculated using Krejcie and Morgan’s formula table. The tools for data collection were a set of questionnaires with the discriminative power ranging between 0.341 - 0.810, and the reliability of 0.943, and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The digital leadership of administrators and the operational effectiveness of the student assistance system were at the highest level.
2. The digital leadership of administrators and the operational effectiveness of the student assistance system, as perceived by participants with different positions, work experience, and school sizes, overall, showed differences in the .01 level of significance. However, there were differences at the .05 level of significance in terms of participants’ positions.
3. The overall relationship between administrators’ digital leadership and the operational effectiveness of the student assistance system had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy= 0.845).
4. The digital leadership of administrators was able to predict the student assistance system at the .01 level of significance consisting of six aspects: Leadership and digital vision, digital personnel development, digital learning integration, ethics for digital technology (DT) use, digital learning workforce creation, and support for digital use in measurement and evaluation. The said variables achieved the predictive power of 71.1 percent with the standard error of estimate of ± 0.19910.
5. The research has also proposed guidelines developing the digital leadership of administrators based on six aspects affecting the operational effectiveness of the student assistance system.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,394.21 KB |