สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ในการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 341 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 56 คน และครูผู้สอน จำนวน 285 คน จากโรงเรียน 56 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหาร เท่ากับ 0.96 ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้อ (r) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.62–0.92 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน เท่ากับ 0.98 ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.61–0.89 สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติการทดสอบค่าสถิติที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก
2. ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน พบว่าภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์ไม่มีความแตกต่างกัน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.723 อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน พบว่า มีจำนวน 4 ด้าน คือด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน ด้านภาวะผู้นำแบบบรรลุผลสำเร็จ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงาน โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ได้ร้อยละ 71.90
5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มี 4 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน ด้านภาวะผู้นำแบบบรรลุผลสำเร็จ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ
The purposes of this research were to examine the level, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing the situational leadership of administrators and the effectiveness of school administration. The sample group included a total of 341 participants, including 56 school administrators and 285 teachers from 56 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The instrument for data collection comprised a set of 5-scale questionnaires on situational leadership of administrators with the reliability of 0.96 and the discrimination power ranging from 0.62 to 0.92, and the effectiveness of school administration with the reliability of 0.98 with the discrimination power ranging from 0.61 to 0.89. The statistics were mean (x̅), standard deviation (S.D.), t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation analysis, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings revealed that:
1. Situational leadership of administrators and the effectiveness of school administration as perceived by participants were at a high level.
2. Situational leadership of administrators and the effectiveness of school administration, as perceived by participants’ positions and school sizes were overall differences at the .01 level of significance. When considering work experience, there were no differences.
3. The situational leadership of administrators has a positive relationship with the effectiveness of school administration at the .01 level of significance with a correlation coefficient of 0.723, indicating a high level of relationship.
4. Situational leadership of administrators affecting the effectiveness of school administration comprised four aspects, namely supportive leadership, achievement-oriented leadership, participative leadership, and directive leadership, that could predict the overall effectiveness of school administration with 71.90 percent at the .01 level of significance.
5. The proposed guidelines for developing situational leadership of administrators and the effectiveness of school administration included four aspects, namely supportive leadership, achievement-oriented leadership, participative leadership, and directive leadership.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,070.94 KB |