สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความต้องการจำเป็น และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 314 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 84 คน ครูผู้สอน จำนวน 230 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และด้านสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และศึกษาโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศจำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น Modified Priority Needs Index (PNI modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาด ของโรงเรียน โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน
3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (PNI = 0.180) ด้านการคิดเชิงระบบ (PNI = 0.172) ด้านมนุษยสัมพันธ์ (PNI = 0.169) ด้านวิสัยทัศน์ (PNI = 0.167) ส่วนอันดับสุดท้ายคือ ด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง (PNI = 0.155)
4. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคิดเชิงระบบ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านวิสัยทัศน์ และด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง
This research aimed to investigate and compare the needs and guidelines for developing the leadership of school administrators in the new normal in schools under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 (KSN-PESAO 3). The samples of this study, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 314 participants, including 84 administrators, and 230 teachers working in schools under KSN-PESAO 3 in the academic year 2022. The instruments for data collection involved interview forms and a set of questionnaires examining both current and desirable conditions with similar reliability values of 0.98. The research also analyzed the practices of three exemplary schools. The instruments for data collection were observation forms, questionnaires, and interview forms. Statistics employed in data analysis included frequency, mean, standard deviation, and Priority Needs Index Modified (PNI modified).
The findings were as follows:
1. The current conditions of leadership of school administrators in the new normal in schools under KSN-PESAO 3 were overall at a high level, while the desirable conditions were overall at the highest level.
2. The comparison analysis, which examined the current conditions of school administrators’ leadership in the new normal in schools under KSN-PESAO 3, classified by participants’ positions and work experience, showed significant differences at the .01 levels of significance both overall and in each aspect. When considering school sizes, differences were found at the .05 level of significance, both overall and in each aspect. The desirable conditions, classified by participants’ positions and work experience showed no overall differences. Similarly, no overall differences were found in terms of school sizes.
3. The needs for leadership development of school administrators in the new normal in schools under KSN-PESAO 3 were ranked in descending order of importance: Information Technology Management (PNI = 0.180), Systems Thinking (PNI = 0.172), Interpersonal Relationship (PNI = 0.169), Visions (PNI = 0.167), and Transformational Leadership (PNI = 0.155).
4. The research has proposed guidelines that are deemed appropriate for developing school administrators’ leadership within the context of the new normal in schools under KSN-PESAO 3 comprising five aspects, namely Information technology management, systems thinking, interpersonal relationship, visions, and transformational leadership.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,574.22 KB |