ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Needs and Guidelines for Competency Development of School Administrators in Educational Opportunity Expansion Schools under the Primary Education Service Area Office in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
อดุลศักดิ์ ทองคำ รหัส 64421229212 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.บดินทร์ นารถโคษา กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2565 จำนวน 356 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 89 คน และครูผู้สอน 267 คน จากโรงเรียน 89 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถามสภาพปัจจุบันของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.594 - 0.877 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.963 สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.566 - 0.917 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ใช้สถิติที (t - test ชนิด Independent Samples) การทดสอบเอฟ (F - test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One - Way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index; PNI modified)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด

          2. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สังกัด มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          3. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยพิจารณาเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์

          4. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครที่ต้องพัฒนา คือ การสื่อสารและการจูงใจ โดยมีแนวทางพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ความสามารถในการพูด เขียน สื่อสาร โต้ตอบ ในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ 2) การพูดโน้มน้าวจูงใจให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับ เพื่อเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้และให้เข้าใจตรงกัน และ 3) ทักษะการสื่อสารด้านการพูดและติดต่อสื่อสารกับองค์กรอื่น ๆ

Abstract

          This research aimed to investigate the needs and guidelines for competency development of school administrators in Educational Opportunity Expansion Schools under the Primary Educational Service Area Office in Sakon Nakhon Province. The sample consisted of 356 participants, including 89 school administrators and 267 teachers from 89 schools under the Primary Educational Service Area Office in Sakon Nakhon Province in the 2022 academic year, selected through multi - stage random sampling. The research instruments included a set of questionnaires and an interview form on the current and desirable conditions of competency development of school administrators in Educational Opportunity Expansion Schools, with the discriminative power ranging from 0.594 to 0.877, and from 0.566 to 0.917, and the reliability rates of 0.963 and 0.971, respectively. The statistics for data analysis included frequency, Independent Samples t - test, One - Way ANOVA, and Modified Priority Needs Index (PNI modified).

          The findings were as follows:

          1. The current conditions of competency development of school administrators in Educational Opportunity Expansion Schools under the Primary Educational Service Area Office in Sakon Nakhon Province, as perceived by participants, were rated at a high level, while desirable conditions were at the highest level.

          2. The competency of school administrators, classified by participants’ positions, as a whole, was different at the .01 level of significance when considering both current and desirable conditions. Within the Primary Education Service Area Office, as a whole, there were differences at the .01 level of significance in the context of current conditions, but not in accordance with desirable conditions. In terms of work experience, differences were achieved at the .01 level of significance under both current and desirable conditions.

          3. The needs of school administrators' competency were ranked in the order of importance from the most to the least as follows: communication and motivation, self-development, visionary, analytical and synthetic thinking, teamwork, and achievement orientation.

          4. The competency of school administrators in terms of communication and motivation was rated as needing development as follows: 1) abilities in verbal and written expression, and communication across diverse contexts, 2) persuasive abilities conducive to fostering consensus and acceptance, and mutual understanding in achieving assigned goals, and 3) verbal communication skills and engagement with external organizations.

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา
Keywords
Needs, Competency of School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,106.68 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 กุมภาพันธ์ 2567 - 14:19:12
View 452 ครั้ง


^