ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ธรรมาภิบาลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร
Good Governance and Motivation for Work Affecting the Performance Effectiveness of Sakon Nakhon Provincial Administration Department’s Personnel
ผู้จัดทำ
ศิริพงษ์ มีสุวรรณ รหัส 64426423105 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สามารถ อัยกร กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาล ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านธรรมาภิบาลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร จำนวน 181 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากตารงสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. ธรรมาภิบาลของกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.11) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.21) ปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.33) และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.63)

          2. ธรรมาภิบาลมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยผลหลักความรับผิดชอบมีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .194) รองลงมา คือ หลักคุณธรรม (β = .111) และหลักความโปร่งใส (β = .097)  ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .519 (Adjusted R2 = .519)

          3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยผลด้านความรับผิดชอบในงาน มีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .199) รองลงมา คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (β = .174) และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (β = .032) ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .394 (Adjusted R2 = .394)

          4. ปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร มี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยผลปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีอิทธิพลสูงที่สุด (β = .562) รองลงมา คือ สภาพการทำงาน (β = .233) และความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (β = .149) ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .542 (Adjusted R2 = .542)

Abstract

          The purposes of this study included the following: 1) To study the level of good governance, motivation for work, and performance effectiveness of Sakon Nakhon Provincial Administration Department’s personnel, 2) To investigate the factors of good governance and motivation for work that influenced on the performance of Sakon Nakhon Provincial Administration Department’s personnel. The sample group consisted of 181 personnel who worked for the Department of Sakon Nakhon Provincial Administration. The size of the samples was calculated by using the ready-made table of Krejcie and Morgan. The tool used to collect the data was a set of questionnaires and statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean (x), standard deviation, and Multiple Regression Analysis.

          The study revealed these results:

          1. The overall good governance of the Department of Sakon Nakhon Provincial Administration was at a high level (x = 4.11). Hygiene factors of the personnel of Sakon Nakhon Provincial Administration Department, as a whole, was also at a high level (x = 4.33).  In addition, these Sakon Nakhon Provincial Administration Department’s personnel’s performance effectiveness, as a whole, was at the highest level (x = 4.63).

          2. Good governance significantly influenced on the effectiveness of the personnel’s performance of Sakon Nakhon Provincial Administration Department <.05 statistical level: responsibility contained the highest influence (β = .194), followed by morality (β = .111); nevertheless, transparency had the least influenced (β = .097). respectively. Altogether, these aspects of good governance possessed the predictive coefficient of .519 (Adjusted R2 = .519).

          3. The personnel’s work motivation significantly influenced on their performance effectiveness at Sakon Nakhon Provincial Administration Department at <.05 statistical level. Regarding all aspects of the work motivation, responsibility had the highest influence (β = .199), followed by acceptance (β = .174). However, the nature or traits of the jobs contained the least influence (β = .032). Altogether, these aspects attained the predictive coefficient of .394 (Adjusted R2 = .394).

          4. The hygiene factor significantly influenced on the performance effectiveness of Sakon Nakhon Provincial Administration Department’s personnel <.05 statistical level. Of all factors, the pay and welfare contained the highest influence (β = .562); work conditions had the second highest influence (β = .233); and the relationship with head officers or superiors got the least influence (β = .149), respectively. Altogether, these factors had the predictive coefficient of .542 (Adjusted R2 = .542).

คำสำคัญ
ธรรมาภิบาล แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ประสิทธิผล
Keywords
Good governance, motivation for work, effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,741.77 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 15:18:53
View 595 ครั้ง


^