สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปาเรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละ (Percentage) เปรียบเทียบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าสถิติ t – test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ กล่าวคือ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.21/77.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวม อยู่ในระดับมาก
This study aimed; 1) to develop and investigate the efficiency of the Mathematics Instructional Packages Using Cippa Model on the Power Number for Mathayom Suksa 1 to reach the 75/75 criterion. 2) to compare the students’ learning achievement scores before and after learning through the developed instructional packages and 3) to evaluate the students’ satisfaction with the developed instructional packages.
The sample consisted of 24 Mathayom Suksa1students from Ban Nong Pai School, under the Office Of Sakon Nakhon Educational Office 2. The instruments used were the mathematics Instructional packages Using Cippa Model on the Power Number for Mathayom Suksa 1 students the learning achievement tests of mathematics, and a satisfaction test. The information obtained was analyzed by using means, standard deviation, percentage, and t – test (Dependent Samples).
The study revealed the following results:
1. The efficiency value of the instructional package was 80.21/77.78, which was higher than the set criterion.
2. The mathematics learning achievement of the students after the instruction By using the developed instructional package was significantly higher than before at the .01 level.
3. The students’ satisfaction with the developed instructional package was at the high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,681.25 KB |