ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ไอซีทีเป็นฐานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เพื่อเสริมสร้างทักษะ กระบวนการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Development of a Mathematics Instruction Model Using Information and Communication Technology as a Base Together with the Constructionism Concept for Enhancing Mathematical Process Skill and Learning Achievement of Upper Secondary School Students
ผู้จัดทำ
วรรณิกา ชาญพิชญาพรวัฒน์ รหัส 533JCe113 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผศ.ดร.ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ผศ.ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ไอซีทีเป็นฐานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทฤษฎี หลักการแนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน กลุ่มควบคุม 32 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการใช้สารสนเทศ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t–test แบบ Independent Samples และ t–test แบบ Dependent samples) 

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นสร้างประสบการณ์ร่วมกัน (2) ขั้นฝึกคิดวิเคราะห์ (3) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ (4) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (5) ขั้นฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้ความรู้ (6) ขั้นสะท้อนผลการเรียนรู้ และ 5) การวัดผลและประเมินผล

2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ปรากฏผลดังนี้

2.1 รูปแบบการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.85/76.76 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2.2 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.6 ความสามารถในการใช้สารสนเทศของกลุ่มทดลองที่หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.7 ความสามารถในการใช้สารสนเทศหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop a mathematics instruction model using information and communication technology (ICT) as a base together with the constructivism concept for enhancing mathematical process skill and learning achievement of upper secondary school students, 2) to examine the result of implementing the mathematics instruction model through the use of ICT as a base together with the constructivism concept for enhancing mathematical process skill and learning achievement of upper secondary school students, and 3) to examine students’ satisfaction of learning through the instructional model. The research methodology consisted of three steps: 1) investigate the basic information, theories, principles and concepts, and related documents; 2) develop an instructional model; 3) implement the developed instructional model. A sample was 64 fifth-year secondary students at Suankularb Wittayalai School, Chon Buri, who were divided into an equal number of 32 for both of treatment and control groups. Data were analyzed using both quantitative and qualitative analysis. The instruments used in experiment were a test of mathematical process skill, a test of learning achievement, a test of ability in using information, and 
a questionnaire of students’ satisfaction of learning through the use of the instructional model. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, t-test of independent samples and t-test of dependent samples.

The findings can be concluded as follows.

1. The mathematics instruction model using ICT as a base together with the constructivism concept for enhancing mathematical process skill and learning achievement of upper secondary school students has five key elements: 1) principle, 2) objectivity, 3) contents, 4) learning management process which comprises 6 steps, namely (1) creating a shared experience, (2) training in critical thinking, (3) linking of knowledge, (4) creating a body of knowledge, (5) practicing the application of knowledge, (6) reflecting the learning outcome, and 5) measuring and evaluating.

2. The results of implementing the instruction model appear as follows.

2.1 The mathematics instruction model had efficiency of 78.85/76.76 which was higher than the criterion having been set at 75/75.

2.2 Mathematical process skill of the treatment group after learning through the mathematics instruction model was significantly higher than that before learning at the .01 level.

2.3 Mathematical process skill of the treatment group after learning was significantly higher than that of the control group at the .01 level.

2.4 Mathematical learning achievement of the treatment group after learning through the mathematics instruction model was significantly higher than that before learning at the .01 level.

2.5 Mathematical learning achievement of the treatment group after learning was significantly higher than that of the control group at the .01 level.

2.6 The ability in using information of the treatment group of students who learned through the mathematics instruction model after learning was significantly higher than that before learning at the .01 level.

2.7 The ability in using information after learning of the treatment group was significantly higher than that of the control group at the .01 level.

3. The students were satisfied with learning through the mathematics instruction model at high level.

คำสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอน, ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์, แนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม, แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ไอซีทีเป็นฐาน
Keywords
Instructional Model, Mathematical Process Skill, Constructivism Concept, Concept of Learning Using ICT as a Base
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 18,523.27 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 สิงหาคม 2564 - 13:23:43
View 935 ครั้ง


^