ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน
The Development of Linear Structural Relationship Model of School Administrators’ Competencies Affecting School Effectiveness
ผู้จัดทำ
อนุสิทธิ์ นามโยธา รหัส 533JPe106 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2555
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน  และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่ 2การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27-0.86 และค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.92-0.98  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2554  จำนวน 600 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ  ใช้โปรแกรม LISREL version 8.72  ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ อายุ  ระดับการศึกษา การอบรมทางการบริหาร ประสบการณ์ทางการบริหาร องค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับผู้ใต้บังคับบัญชา การจัดโครงสร้างงาน การใช้อำนาจในตำแหน่งและความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์  การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม และการมีคุณธรรมจริยธรรม ด้านสมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การสื่อสารและการจูงใจ การมีวิสัยทัศน์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ด้านประสิทธิผลของโรงเรียน ได้แก่ การบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน ครูและบุคลากร ผู้เรียน การมีส่วนร่วมของชุมชน  และบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม

2.ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบที่พัฒนากับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืน (chi ^{2} = 361.98, p-value = 0.25, df = 181, RMSEA = 0.04, GFI = 0.95, AGFI = 0.92, Largest Standardized Residual = 1.72) ค่าอิทธิพลทางตรง  อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียงลำดับค่าอิทธิพลจากมากไปหาน้อย เป็นดังนี้  อิทธิพลทางตรง ได้แก่ สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง  องค์ประกอบด้านภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา อิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ องค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบด้านภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา  อิทธิพลรวม ได้แก่ สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา  องค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบด้านภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา และสมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อพิจารณาค่าอำนาจการพยากรณ์พบว่าภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษา สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 98  ภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา  และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษา สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 92 และสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหารสถานศึกษา  ภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษา สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 84 ตามลำดับ

Abstract

The purposes of this study were to develop a linear structural relationship model of school administrators’ competencies affecting school effectiveness, and to investigate goodness of fit of the developed linear structure equation model and the empirical data. The study was conducted in two phases: Phase I-determining a research conceptual framework through document inquiries, experts’ interviews, and an investigation of outstanding schools, and Phase II-testing the research hypotheses. The research instrument was a rating scale questionnaire with discrimination power values ranging from 0.27 to 0.86 and reliability coefficients ranging from 0.92 to 0.98. The samples, obtained through multi-stage random sampling, comprised a total of 600 school administrators and teachers in primary schools under the Offices of Primary Educational Service Area in the Sakon Nakhon province areas of the 2011 academic year. The computer software program was employed to analyze the data in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. LISREL version 8.72 program was applied to analyze the confirmatory factor analysis, and to test goodness of fit of the developed model and the empirical data.

The findings were as follows:

1. The linear structure equation model of school administrators’ competencies affecting school effectiveness comprised five components: School Administrators’ Backgrounds involving age, educational attainment, administrative training, and administrative experience; School Situations involving school administrator and subordinate relationship, organizational structure management, the exercise of authority, and school-community relationship; Core Competencies of school administrators involving: achievement-orientation, good service, self-development, teamwork, and integrity; Functional Competencies involving: communication and motivation, vision, ability to analyze and synthesize, personnel development, and transformational leadership; and School Effectiveness involving administrative management, instructional organization, teachers and personnel, students, community participation, and climate and environment.

2. The goodness of fit between the linear structure equation model of school administrators’ competencies developed by the author and the empirical data showed that they were a good fit (chi ^{2} = 361.98, p-value = 0.25, df = 181; RMSEA=0.04, GFI = 0.95, AGFI= 0.92; Largest Standardized Residual = 1.72). The factors that had direct, indirect, and total effect toward the school effectiveness ranged from high to low respectively as follows: Direct Effects were Core Competencies, School Situations, and Backgrounds of school administrators. Indirect Effects were School Situations, and Backgrounds of school administrators. The Total Effects were Core Competencies, School Situations, Backgrounds and Functional Competencies of school administrators.  When considering the prediction power, it was found that Backgrounds and School situations of school administrators could explain the variance of Core Competencies of school administrators with the value of 98 percent. The Backgrounds and School Situations of school administrators could also explain Functional Competencies of school administrators with the value of 92 percent. In addition Core Competencies, Functional Competencies, Backgrounds, and School Situations of school administrators were able to explain the variance of the school effectiveness with the value of 84 percent.

คำสำคัญ
-
Keywords
Linear Structural Equation model, school administrators, competencies, school effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,767.73 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 เมษายน 2562 - 16:04:23
View 1269 ครั้ง


^