ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Instructional Leadership Indicators for Early Childhood Teachers under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeast of Thailand
ผู้จัดทำ
วันเพ็ญ นันทะศรี รหัส 533JPe111 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2555
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับ   ครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การดำเนินการมีสองระยะ ประกอบด้วย ระยะแรก  การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย  การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  การศึกษารายกรณี  จัดทำกรอบแนวคิดและร่างตัวบ่งชี้  ระยะที่สอง  การทดสอบเพื่อยืนยันตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูปฐมวัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูปฐมวัยจำนวน  580 คน  และสถิติอ้างอิงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า  5 ระดับ  มีค่าดัชนีความสอดคล้อง  ระหว่าง 0.55 – 1.00  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  โดยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟา ของ  Cronbach  เท่ากับ  0.82 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับ  ครูปฐมวัย  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ประกอบด้วย  3 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย  68 ตัวบ่งชี้  จำแนกเป็น  การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ปฐมวัย  จำนวน  14  ตัวบ่งชี้  การพัฒนาครูปฐมวัย  จำนวน  26  ตัวบ่งชี้  และการพัฒนาเด็กปฐมวัย  จำนวน  28  ตัวบ่งชี้  ซึ่งเป็นไปตามหลักการแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 

2.  โมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูปฐมวัย  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยมีค่าไค-สแควร์  (Chi-square)  เท่ากับ  1.25  ค่าองศาอิสระ  (df)  เท่ากับ 4 ค่านัยสำคัญทางสถิติ  (P-value)  เท่ากับ  0.869  ค่าดัชนีวัดระดับความดกลมกลืน  (GFI)  เท่ากับ 1.00  ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว  (AGFI)  เท่ากับ  0.99  และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.000  (Chi-square = 1.25  df =4  ค่า P = 0.869  ค่า GFI = 1.00 ค่า AGFI =0.99  ค่า RMSEA =0.000)  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Abstract

The purposes of this study were: (1) to develop Instructional leadership indicators for early childhood teachers under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeast of Thailand, and (2) to examine the goodness of fit between the developed hypothetical linear structure equation model of Instructional leadership indicators and the empirical data.  The study was conducted into two phases: phase 1 – Development of Instructional leadership indicators for early childhood teachers under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeast of Thailand through analysis of related documents and research, experts’ interviews, case studies, creating a conceptual framework, and indicators; phase 2 – testing in order to confirm Instructional leadership indicators for early childhood teachers by quantitative research methodology.  The data were collected from a sample of 580 early childhood teachers.  A statistical package was employed to analyze the data.  The tool used to collect data was a 5-rating scale questionnaire whose index of item-objective congruence (IOC) ranged between 0.55 and 1.00, and the reliability coefficient by Cronbach’s method was 0.82.

The findings were as follows:

1. The Instructional leadership indicators for early childhood teachers under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeast of Thailand consisted of three principal components, 11 small components and 68 indicators which were divided into 14 indicators for curriculum management and early childhood learning management, 26 indicators for development of early childhood teachers, and 28 indicators for development of children in a preschool, which were based on literature reviews.

2. The linear structure equation model of Instructional leadership indicators for early childhood teachers under the Offices of Primary Education Service Area in the Northeast of Thailand has the goodness of fit with the empirical data as displayed by the statistical values as follows: Chi-square = 1.25, degree of freedom (df) = 4, p = 0.869, goodness-of-fit index (GFI) = 1.00, adjusted goodness-of-fit index (AGFI) = 0.99, and root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.000.  Thus, the study results confirmed the hypothesis stated.

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ครูปฐมวัย
Keywords
Indicators, Instructional Leadership, early childhood teachers
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,336.70 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 เมษายน 2562 - 15:59:07
View 1219 ครั้ง


^