ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Policy Recommendation for Academic Administration towards Excellence of District Non-formal and Informal Education Centres in North-eastern Region
ผู้จัดทำ
จรูญศักดิ์ พุดน้อย รหัส 533JPe115 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, รองศาสตราจารย์ ดร.จำนง วงษ์ชาชม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความคาดหวังของการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบทเพื่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบายโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และการศึกษา       พหุกรณี ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2558 จำนวน  510 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.97 ค่าสถิติเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาของการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า สถานศึกษาไม่ใช้ระบบบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ไม่มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ พันธกิจ กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติ ครูส่วนใหญ่ไม่จัดทำแผนการเรียนรู้รายวิชา แผนการเรียนรายภาคตามสาระและหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้สถานศึกษาไม่มีการกำกับดูแล และส่งเสริมให้แก้ปัญหาในลักษณะของการวิจัย ขาดการส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง อีกทั้งขาดการพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่มีความเที่ยงตรงสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และด้านความคาดหวัง พบว่า ต้องการให้สถานศึกษามีระบบการบริหารทรัพยากรเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด มีระบบการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ มีการส่งเสริมให้ครูมีทักษะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง จัดหาสื่อ และนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนและการพัฒนางานวิชาการ มีการกำกับติดตาม และประเมินผลโครงการและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และการจัดระบบนิเทศภายในของสถานศึกษา  

2. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งเป็น 9 ด้าน คือ 1) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 2) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21  3) การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ4) การบริหารหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ 5) การพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ 6) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 7) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 8) การพัฒนาระบบบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ 9) การนิเทศการศึกษา ข้อเสนอเชิงนโยบายแต่ละด้านประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ พันธกิจ กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติ

Abstract

The objectives of this study were 1) to study the problems and expectations of academic administration towards excellence of district non-formal and informal education centres in North-eastern region and 2) to develop a policy recommendation and practice for academic administration towards excellence of district non-formal and informal education centres in North-eastern region. The study was divided into 2 phases. The first phase was a context study in order to draft a policy recommendation, conducted through document analysis and synthesis, survey research, target group interview and multi-case studies. The second phase was the development and verification of the recommended policy by interviewing experts and organizing stake holders workshop seminar, The Sample were directors and teachers of district non-formal and informal education centres in North-eastern region in academic year B.E. 2558, totally 510. . The research instruments were a semi-structured interview and a questionnaire that has Cronbach's alpha coefficient at  0.97. Statistics applied in this study were percentage, mean and standard deviation.

The findings were as follows.

1. The problems of academic administration towards excellence of District non-formal and informal education centres in North-eastern region were that the education centres did not implement result-based management in their administration system and the school curriculum did not receive due improvement and development, which made them incoherent with the education centres’ visions, goals, objectives, missions and strategies. Most teachers neglected to create a lesson plan for each subject, a semester plan and a content and learning unit with an emphasis on learner-centred approach. There was also a lack of monitoring and evaluation of education centres and encouragement to solve problems through the use studies and researches. No support was given to teachers in organizing a diverse and continuous learning process, and there was no development of evaluation tools that were accurate and met the learning standards. On the other hand, the expectations of the subjects on the education centres were the highest effectiveness in resources management, information management system, encouragement for teachers to continually learn and improve their innovative media development skills, providing adequate media and innovation for education and academic development, having a continuous supervision and assessment of projects and activities, and having a knowledge and experience sharing and internal supervision system.

2. The policy recommendation for academic administration towards excellence of district non-formal and informal education centres in North-eastern region comprised 9 sections, which were 1) the studies and researches for educational quality improvement in education centres; 2) the development of educational media and innovation that meet new paradigm of educational management in the 21st century; 3) the effective measurement, evaluation and credit transfer; 4) curriculum management and implementation; 5) potential development for teachers and educational personnel towards professionalism; 6) the development of internal quality assurance; 7) the development of learning process; 8) the development of result-based administration system, and 9) educational supervision. Each aforementioned section in the author's policy recommendation consisted of vision, goals, objectives, missions, strategies and practices.

คำสำคัญ
นโยบาย, การบริหารงานวิชาการ, ความเป็นเลิศ
Keywords
Policy, Academic Administration, Excellence
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,631.78 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
15 พฤษภาคม 2562 - 09:40:49
View 1022 ครั้ง


^