ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน
Development of a Linear Structure Relationship Model on Instructional Leadership Influencing Being a Learning Organization of Schools
ผู้จัดทำ
พิศุทธิ์ กิติศรีวรพันธุ์ รหัส 533JPe203 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2555
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง, รองศาสตราจารย์ ดร.จำนง วงษ์ชาชม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานของภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่สอง การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 267 คน และครูผู้สอน จำนวน 267 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 และ 2  ปีการศึกษา 2555 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  และใช้โปรแกรม LISREL version 8.72 เพื่อการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ (Causal Model) และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์รูปแบบสุดท้ายมีค่าสถิติดังนี้ Chi-square =146.94,  p=0.74, df=159, RMSEA=0.00, GFI=0.98, AGFI=0.96, Standardized RMR = 0.02 และค่า CN = 715.43  

2. องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ประกอบด้วย การบริหารจัดการ การสร้างบรรยากาศ  การพัฒนาตนเองและทีมงาน  และการบริหารการสอนและการเรียนรู้  โดยรูปแบบของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน มีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ด้านองค์การ   ด้านบุคคล ด้านการเรียนรู้ ด้านกระบวนการจัดการ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อพิจารณาค่าอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน พบว่า องค์ประกอบด้านการสร้างบรรยากาศ มีค่าอิทธิพลสูงสุด เท่ากับ 0.52 มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.15 และมีอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.37 รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบด้าน การบริหารการสอนและการเรียนรู้  มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.46 และมีเฉพาะอิทธิพลทางตรง  องค์ประกอบด้านการพัฒนาตนเองและทีมงาน  มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.42  มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.16 และมีอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.26 องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ  มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.23  มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.11 และมีอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.12  เมื่อพิจารณาสมการโครงสร้าง พบว่า องค์ประกอบในรูปแบบสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนขององค์ประกอบของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้ร้อยละ 49.00 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรแฝงภายในอีก 2 ตัว คือ องค์ประกอบด้านการพัฒนาตนเองและทีมงาน  และองค์ประกอบด้านการบริหารการสอนและการเรียนรู้  ได้ร้อยละ 56.00 เท่ากัน

Abstract

The objectives of this study were: 1) to develop a linear structure relationship model on instructional leadership which influences being a learning organization of schools, and 2) to investigate goodness of fit between the hypothetical linear structure equation model of instructional leadership which influences being a learning organization of schools and the empirical data.  The study was conducted into 2 phases: phase 1 – determining a conceptual framework of study, phase 2 – checking research hypotheses.  A sample used in this study comprised 267 school administrators and 267 teachers in schools under the Offices of Nakhon Phanom Primary Education Service Areas 1 and 2, selected through multi-stage random sampling.  The instrument used in this study was a 5-rating scale questionnaire whose reliability coefficient was 0.98.  An analysis for finding basic statistical values was done using a computer package and the LISREL version 8.72 for causal model analysis and investigation of goodness of fit between the theoretical model and the empirical data.

Findings of the study revealed as follows:

1. The linear structure equation model of instructional leadership developed by this author which influences being a learning organization of schools, has goodness of fit with the empirical data.  The last model has statistical values as follows : Chi-square = 146.94, p = 0.74, df = 159, RMSEA = 0.00, GFI = 0.98, AGFI = 0.96, Standardized RMR = 0.02, and CN = 715.43. 

2. The components of instructional leadership which influence being a learning organization of schools are administration, creating a climate, self and team development, and teaching and learning management.  The model of being a learning organization of schools is composed of 5 aspects like : organization, personnel, learning, management process, and information technology.  Considering the overall influence value which affects being a learning organization of schools, it was found that the component of ‘creating a climate’ has the highest influence value of 0.52 which comprises a direct influence value of 0.15 and an indirect influence value of 0.37.  Next below are the component of ‘teaching and learning management’ which has an influence value of 0.46 and has the only direct influence value, the component of ‘self and team development’ which has the overall influence value of 0.42, consisting of a direct influence value of 0.16 and an indirect influence value of 0.26, and the component of ‘administration’ which has an influence value of 0.23, consisting of a direct influence value of 0.11 and an indirect influence value of 0.12.  As the linear structure equation model is considered, components in the model are able to explain the variance value of the component of being a learning organization of schools with the value of 49.00% criterion and the variance values of the other 2 internal latent variables, namely the components of ‘self and team development’ and ‘teaching and learning management’ with the equal value of 56.00% criterion.

คำสำคัญ
สมการโครงสร้างเชิงเส้น, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, องค์การแห่งการเรียนรู้
Keywords
Linear Structure Equation Model, Instructional Leadership, Learning Organization
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,042.64 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 เมษายน 2562 - 15:52:45
View 1134 ครั้ง


^