สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ในการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการใช้เกมการศึกษา 2) หาแนวทางพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) ติดตามผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการนิเทศภายใน และแบบประเมินความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ครูผู้ดูแลเด็กมีทักษะในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับน้อย ปัญหาการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการในการใช้เกมการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) แนวทางในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
3) การติดตามผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นอย่างดี และส่งผลให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
This study aimed to 1) investigate states,problems and needs of using educational games, 2) find out guidelines of the development of the child caretakers in the use of educational games for the learning development of the preschool children , and 3) monitor effects of the child caretakers' development in using educational games for developing the preschool children at the child development centers under Ban Siao Sub-district Administration Organization, Na Wa, Nakhon Phanom.A 2-spiral participatory action research with 4 stages including: planning, action,observation and reflection was applied.The target group consisted of 11 participants including the researcher. There were 18 respondents. Tools used were composed of a questionnaire, a form of observation, a form of interview, a form of internal supervision as well as a form of knowledge assessment. Frequency,percentage, mean and standard deviation were employed to analyze data.
The findings were as follows:
1. The states on the development of learning through the use of educational games for the preschool children were at the low level in general. The child caretakers obtained the skills on managing education using educational games at the low level.The problems on the use of educational games to develop the preschool children's learning were, as a whole, at the high level. The needs on the use of educational games for learning among the child caretakerswere at the highest level.
2.The guidelines of the child caretakers' development in the use of educational games for developing the preschool children at the child development centers included: a workshop and internal supervision.
3. The monitoring of the effects of the child caretakers' development on the use of educational games for developing the preschool children'slearning at the child development centers revealed that the child caretakers gained knowledge, understanding and skills in managing learning by the use of educational games to develop the preschool children's learning at best and this affected the child caretakers to gain abilities in implementing various activities for the children efficiently.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,102.49 KB |