สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนกับนักเรียนที่เรียนปกติในชั้นเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบ Two Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน จำนวน 74 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อสังคมออนไลน์ที่สนับสนุนการเรียนการสอน 2) แบบทดสอบเพื่อประเมินสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ภาคทฤษฎี และ 3) แบบสอบถามเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ค่าร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย และ 3) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คือ เพศ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน ระยะเวลาการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ฯ ช่องทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ฯ เว็บไซต์ผู้ให้บริการแบ่งปันสื่อสังคมออนไลน์ฯ วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ฯ สถานที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ฯ สามารถอธิบายได้ 2 รูปแบบ คือ
1.1 รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
1.2 รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการเรียน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน สามารถอธิบายได้ดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ( = 16.16, S.D. = 2.77) สูงกว่านักเรียนที่เรียนปกติในชั้นเรียน ( = 14.05, S.D. = 1.76).
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ( = 16.16, S.D. = 2.77) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 11.10, S.D. = 2.34)
3. ความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน โดยภาพรวม ( = 3.88, S.D. = 0.48) และรายด้านอยู่ในระดับมาก
This study was conducted with the following purposes: 1) to investigate the forms of using online social media to enhance learning, 2) to compare learning achievements of learners who used online social media to enhance learning, 3) to explore the students’ satisfaction of learning by using online social media. The research study adopted quasi experimental method of two-group pretest – posttest design. The subjects were 74 second – year students majoring in Business Computer of Vocational Certificate at Swang Daen Din Industrial and Community Education College. They were purposively selected. The instruments used consisted of the Graphics Programs, the test to measure the students’ learning achievements gained before and after being taught with the theoretical knowledge of the, and the questionnaire to survey the students’ satisfaction of different forms of using online social media to enhance their learning in the course. The statistics employed were percentage, mean, and standard deviation.
The study revealed the following result:
1. The online social media used to enhance learning consisted of various forms. They included the users’ genders, family’s average monthly incomes, period of using online social media, channels of using online social media, websites of the online social media’s providers, and the venues for using online social media. The relations of these forms of using online social media to enhance learning could be subdivided into two main classifications:
1.1 The forms of using online social media to enhance learning which positively related to their higher learning achievements.
1.2 The forms of using online social media to enhance which related to the students’ satisfaction
2. The learning achievements of the students who used online social media to enhance their learning could be explained as follows:
2.1 The students who used online social media to enhance their learning had higher achievement ( = 16.16, S.D. = 2.77) then those who studied normally ( = 14.05, S.D. = 1.76).
2.2 After the students had used online social media to enhance their learning, their achievement ( = 16.16, S.D. = 2.77) was higher than that of before ( = 11.10, S.D. = 2.34).
3. The satisfactions of learning by using online social media to enhance learning, as a whole and on each aspect, were at the high levels ( = 3.88, S.D. = 0.48).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 1,968.73 KB |