ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับครูระดับประถมศึกษา
Development of a Training Curriculum to Supplement Instructional Management Competencies of Primary Teachers for Strengthening Analytical Thinking Ability of Students
ผู้จัดทำ
วิทยา ทัศมี รหัส 55532227101 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ดร.อุษา ปราบหงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิพงศ์ จอมพงษ์พิพัฒน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการเรียน การสอนที่เสริมสร้างความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 2) ศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะ 3) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสมรรถนะ 2) ศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะ 3) สร้างหลักสูตรฝึกอบรม และ 4) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะ คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 332 คน  ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตร คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านไร่สุขสันต์ กลุ่มโคกก่อง-ชัยพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบวัดสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (PNI) ค่าทดสอบ t–test แบบ Dependent Samples และแบบ One Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะที่ศึกษา ประกอบด้วย 10 สมรรถนะ 34 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ ดังนี้

1.1 สมรรถนะด้านความรู้ จำนวน 5 สมรรถนะ 19 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ 

1.2 สมรรถนะด้านทักษะ จำนวน 4 สมรรถนะ 10 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ

1.3 สมรรถนะด้านเจตคติ จำนวน 1 สมรรถนะ 5 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ

2. ผลการศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะที่ศึกษา พบว่า สภาพโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (= 1.88, S.D. = 0.86) ความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.87, S.D. = 0.37) และครูผู้สอนมีความต้องการจำเป็นให้เกิดสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นทุกสมรรถนะ  

3. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น มี 8 องค์ประกอบ คือ 1) เหตุผลและ ความเป็นมา 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) สมรรถนะสำคัญ 5) โครงสร้างเนื้อหา 6) กิจกรรม 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 8) การวัดและประเมินผล ส่วนโครงสร้างเนื้อหา มี 8 หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 44 ชั่วโมง ได้แก่ หน่วยที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจ 3 ชั่วโมง หน่วยที่ 2 มารู้เรื่องการคิดวิเคราะห์กันเถอะ 3 ชั่วโมง หน่วยที่ 3 สอนคิดวิเคราะห์นั้นทำอย่างไร 6 ชั่วโมง หน่วยที่ 4 คิดก่อนทำจำเป็นหรือไม่ 3 ชั่วโมง หน่วยที่ 5 ตัวช่วยในการสอนคิดวิเคราะห์ 3 ชั่วโมง หน่วยที่ 6 เรียนรู้การวัดและประเมินผลการคิดวิเคราะห์ 3 ชั่วโมง หน่วยที่ 7 ออกแบบได้ใช้สอนจริง 3 ชั่วโมง และหน่วยที่ 8 สอนได้ในห้องเรียน 20 ชั่วโมง โดยกิจกรรมการฝึกอบรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ 2) ขั้นสะท้อนและการอภิปราย 3) ขั้นความคิดรวบยอด และ 4) ขั้นการประยุกต์ใช้ 

4. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า

4.1 สมรรถนะด้านความรู้ของครูหลังการฝึกอบรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.2 สมรรถนะด้านทักษะของครูหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 2.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.3 สมรรถนะด้านเจตคติของครูหลังการฝึกอบรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.4 ความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, S.D. = 0.26)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate instructional management competencies of primary teachers for strengthening analytical thinking ability of students, 2) to examine the state, expectation, and needs of the competencies, 3) to develop a training curriculum, and 4) to inquire into the results of experiment in using the training curriculum. The study procedure comprised 4 steps: 1) investigate the competencies, 2) examine the state, expectation and need of the competencies, 3) create a training curriculum, and 4) experiment in using the training curriculum based on the one-group pretest-posttest design. One sample used in the examination of state, expectation and need of the competencies was 332 primary school teachers under the Office of Bueng Kan Primary Education Service Area in academic year 2016, derived by multi-stage random sampling; and the other sample used in the implementation of the training curriculum was 8 primary teachers in Ban-Rai-Suksan School, Khok Kong Chaiyaporn Group under the Office of Bueng Kan Primary Education Service Area in academic year 2017. The instruments used in the study were a curriculum, a manual for using the curriculum, a form of measuring teachers’ instructional management competencies for strengthening analytical thinking ability of students, and a form for assessing teachers’ satisfaction with the implementation of the curriculum. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, PNI modified, t-test for dependent samples, and one sample t-test.

The findings revealed as follows:

1. The examined competencies comprised 10 competencies and 34 competency indicators, namely

1.1 knowledge competencies consisting of 5 competencies and 19 competency indicators,

1.2 skill competencies consisting of 4 competencies and 10 competency indicators, and

1.3 attitude competency consisting of 1 competency and 5 competency indicators.

2. The results of examining the state, expectation and need of the studied competencies found that the state as a whole was at low level (X̅= 1.88, S.D. = 0.86), the expectation as a whole was at the highest level (X̅= 4.87, S.D. = 0.37), and the teachers needed to have all of the developed competencies.

3. The developed training curriculum comprised 8 components: 1) rationale and background, 2) principles, 3) objectives, 4) key competencies, 5) content structure, 6) activities, 7) media and sources of learning, and 8) measurement and evaluation. There were 8 learning units with a total of 44 hours in the component of content structure as follows: unit 1 – creating inspiration 3 hours, unit 2 – coming to learn how to think analytically 3 hours, unit 3 – teaching them how to think analytically 6 hours, unit 4 – is thinking before you do it necessary? 3 hours, unit 5 – using a helper in teaching analytical thinking 3 hours, unit 6 – learning to measure and evaluate analytical thinking 3 hours, unit 7 – designing it to be actually teachable 3 hours, and unit 8 – being able to teach it in the classroom 20 hours.  The training activities comprised 4 steps: 1) stimulate the sharing of experiences, 2) reflect and make discussion, 3) have something conceived in the mind, and 4) apply it.

4. The results of implementing the training curriculum were as follows:

4.1 Teachers’ knowledge competency after getting trained was significantly higher than that before the treatment at the .05 level;

4.2 Teachers’ skill competency after getting trained was at the highest level and significantly higher than the 2.51 set criterion at the .05 level;

4.3 Teachers’ attitude competency after getting trained was significantly higher than that before the treatment at the .05 level; and

4.4 Teachers’ satisfaction with using the training curriculum was at the highest level (X̅= 4.55, S.D. = 0.26).

คำสำคัญ
หลักสูตรฝึกอบรม, สมรรถนะ, ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,435.48 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:09:22
View 3474 ครั้ง


^