ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Development of the Instructional Model Based on Blended Learning Approach: An English for Cross Cultural Communication Course for Rajabhat University’s Undergraduate Students
ผู้จัดทำ
สาวิตรี เถาว์โท รหัส 55532227105 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผศ.ดร.ประยูร บุญใช้, ผศ.ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด การเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษา ปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย 3) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด การเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษา ปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับ ปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 105 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเป็นวิชาเอกสังคมศึกษา 1 ห้องเรียน จำนวน 51 คน กลุ่มควบคุม เป็นนักศึกษาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย 1 ห้องเรียน จำนวน 54 คน ได้มาจากการลุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ ทางการเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 2) แบบวัดการรู้สารสนเทศ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความ แตกต่างโดยใช้ t-test แบบ Dependent samples และ Independent samples การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ จัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าและการเรียน การสอนแบบออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 4.1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 4.2) ขั้นนำเสนอเนื้อหา 4.3) ขั้น'ฟิกปฏิบัติ 4.4) ขั้นพัฒนาการ นำไปใช้ และ 5) การวัดและประเมินผล

2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีดังนี้

2.1 ผลสัมฤทธทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าร้อยละ 75

2.2 ผลสัมฤทธทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 การรู้สารสนเทศของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนตามรูปแบบ การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าร้อยละ 75

2.4 การรู้สารสนเทศของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนตามรูปแบบ การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

2.5 ความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนตามรูปแบบ การเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop the instructional model of English for Cross Cultural Communication by using Blended Learning Approach for Rajabhat University’s students, 2) to investigate the results gained from an experimental installment of the developed instructional model based on Blended Learning Approach of English for Cross Cultural Communication Course taken by Rajabhat University’s students. The study was divided into 3 stages, stage 1 was the development of an instructional model based on Blended Learning Approach of English for Cross Cultural Communication Course taken by Rajabhat University’s students, stage 2 included the creation and development of the research instruments, stage 3 was a tryout of the created instructional model. The subjects were 105 students who were taking English for Cross Cultural Communication in the first semester of 2014 academic year. They were composed of 51 Social Science - major students who received the treatment and 54 Early Childhood Education - major students who were the control group. These subjects were obtained through cluster random sampling. The instruments employed for the study consisted of 1) an achievement test, 2) the form to measure the students’ information literacy, 3) a questionnaire to explore the students’ satisfaction. The data gained was quantitatively and qualitatively analyzed. The statistics adopted included percentage, standard deviation, t-tests (Dependent and Independent Samples). Content analysis was conducted with qualitative data.

The study revealed the following results:

1. The developed instructional model based on Blended Learning Approach of English for Cross Cultural Communication Course taken by Rajabhat University’s students was composed of 5 important components: 1) principles, 2) goals, 3) contents, 4) instructional process, and 5) assessment and evaluation. As for the instructional process, two forms of instructional methods were employed. They were the face-to-face instruction and an online instruction. These instructions were divided into 4 stages: 1) introduction, 2) presentation, 3) practice, and 4) the developed application.

2. The results from installing the developed instructional model of English for Cross Cultural Communication by using Blended Learning Approach for Rajabhat University’s students were shown below:

2.1 After the experimented students had been taught through the developed instructional model of English for Cross Cultural Communication by using Blended Learning Approach, their learning achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance. The increase of their achievement was more than 75 percent.

2.2 An achievement of the experimented students who had been taught through the developed instructional model of English for Cross Cultural Communication by using Blended Learning Approach was statistically higher than that of the control group at .01 level of significance.

2.3 After the experimented students had been taught through the developed instructional model of English for Cross Cultural Communication by using Blended Learning Approach, their information literacy was higher than that of before. The increase was more than 75 percent.

2.4 An information literacy of the experimented students who had been taught through the developed instructional model of English for Cross Cultural Communication by using Blended Learning Approach was statistically higher than that of the control group who were taught normally at .01 level of significance.

2.5 The satisfaction of the experimented students who had been taught through the developed instructional model was at the high level. 

คำสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอน, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การรู้สารสนเทศ, การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
Keywords
Instructional Model, Blended Learning Approach, Information Literacy, Communication Language Teaching
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 21,503.52 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 สิงหาคม 2564 - 15:20:57
View 751 ครั้ง


^