ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Development of a Supervision Model Based on the Blended Learning Concept to Improve Classroom Research Ability of Teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1
ผู้จัดทำ
นัยนา ฉายวงค์ รหัส 55632227108 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพี่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศไปใช้ และ 4) การประเมินผลรูปแบบการนิเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการนิเทศและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน 3) แบบประเมินความสามารถด้านการจัดทำเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน 4) แบบประเมินความสามารถด้านการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียน 5) แบบประเมินความสามารถด้านการจัดทำรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน และแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการนิเทศ และ 5) การวัดผลประเมินผลกระบวนการนิเทศ มี 4 ขั้น คือ 1) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ 2) การวางแผนการนิเทศ 2) การปฏิบัติการนิเทศ และ 3) การประเมินและรายงานผลการนิเทศ

2. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ มีดังนี้

2.1 ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน หลังนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศ และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2 ความสามารถด้านการจัดทำเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 ความสามารถด้านการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.4 ความสามารถด้านการจัดทำรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.5 ครูมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยชั้นเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.52)

Abstract

This study aimed: 1) to develop a supervision model based on the blended learning concept to enhance classroom research ability of teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area, and 2) to examine the results of implementing the developed supervision model. The procedure of research comprised 4 steps: 1) investigate basic information, 2) develop a supervision model, 3) experiment in using the supervision model, and 4) evaluate the supervision model. A sample derived from purposive sampling was 17 teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1 in the first semester of academic year 2017. The instruments used in the study were: 1) a manual for using the supervision model, 2) a test of knowledge about classroom research, 3) a form for assessing ability in making a classroom research proposal, 4) a form for assessing ability in conducting classroom research, 5) a form for assessing ability in making a classroom research report and 6) a questionnaire asking satisfaction of the use of supervision model. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Sample and One Sample in comparison with the set criteria).

Findings of the study can be concluded as follows:

1. The developed supervision model comprised 5 components: 1) principle, 2) objectives, 3) content, 4) supervision process, and 5) measurement and evaluation. There were 4 steps of supervision: 1) supervision information, 2) supervision planning, 3) supervision practice, and 4) supervision assessment and report.

2. The results of implementing the supervision model are as follows:

2.1 Knowledge about classroom research after supervision was significantly higher than that before supervision and higher than the criterion set at 70 percent at the .01 level.

2.2 Ability in writing a classroom research proposal was at high level and significantly higher than the criterion set at 70 percent at the .01 level.

2.3 Ability in conducting classroom research was at high level and significantly higher than the criterion set at 70 percent at the .01 level.

2.4 Ability in writing a classroom research report was at high level and significantly higher than the criterion set at 70 percent at the .01 level.

2.5 The teachers were satisfied with implementing the supervision model based on the blended learning concept to enhance classroom research ability at the highest level (X̅= 4.52).

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, การนิเทศ, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, ความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,106.53 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 กุมภาพันธ์ 2561 - 13:50:42
View 3045 ครั้ง


^