ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
educational administration strategies for being professional learning organization under the offices of secondary educational service areas in northeast thailand
ผู้จัดทำ
ภูมิภัทร กลางโคตร์ รหัส 55632233110 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ, รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างกลยุทธ์ ดำเนินการใน  3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และส่วนที่ 3 การศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 3 โรงเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์ โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง (Modified Delphi Technique) จำนวน 3 รอบ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ของกลยุทธ์ โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 480 คน ระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์ โดยร่างคู่มือการใช้กลยุทธ์ นำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมความถูกต้องด้านเนื้อหาและความเหมาะสมในการนำไปใช้ และแก้ไขปรับปรุงคู่มือการใช้รูปแบบ

ผลการวิจัยพบว่า

1. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ คือ บริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพ 2) พันธกิจ มีจำนวน 10 ข้อ 3) เป้าประสงค์ มีจำนวน 10 ข้อ 4) กลยุทธ์ มี 4 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 การเรียนรู้ร่วมกันและการประยุกต์ใช้ความรู้ มี 3 กิจกรรมได้แก่ 1) การจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาความฉลาดรอบรู้ของทีม 3) การนำประสบการณ์มาแก้ไขปัญหา กลยุทธ์ที่ 2 การมีค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม มี 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมโรงเรียน และ 2) การกำหนดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 3 การทำงานเป็นทีมแบบรวมพลังร่วมมือ มี 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การทำงานเป็นทีมที่สามารถทำงานทดแทนกันได้ 2) การสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินงาน และ 3) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน และ กลยุทธ์ที่ 4 การมีภาวะผู้นำแบบสนับสนุนและการจัดการความรู้ มี 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) การมีภาวะผู้นำแบบสนับสนุนของครูและผู้บริหาร และ 2) การนำวิธีการจัดการความรู้มาใช้ในการดำเนินงาน

2. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. คู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบ มืออาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย คำชี้แจง วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทนำ กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพ การดำเนินงานตามกลยุทธ์ และบทบาทและหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลยุทธ์มีความถูกต้องด้านเนื้อหาและมีเหมาะสมในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this study were to 1) develop school management strategy towards professional learning organization for secondary schools under secondary education service area offices in the Northeastern region of Thailand 2) verify the appropriateness of the developed strategy and 3) develop a guideline on the implementation of the developed strategy. A mixed-methods between qualitative and quantitative research was employed in this study, and the study was divided into 4 phases. Phase 1 was the strategy building, which was conducted in 3 parts. The first part was the study of relevant documents and researches. The second part was an interview with 9 professionals, while the third part was the multi-case studies of 3 model schools. Phase 2 was the strategy development by the application of Modified Delphi Technique for 3 rounds and an inquiry with 21 experts. Phase 3 was the appropriateness verification in the strategy implementation by conducting an opinion survey from 480 stakeholders. Phase 4 was the development of the guideline on strategy implementation, which was presented to 5 experts for appropriateness and content verification for application and guideline improvement.

The study found that: 1. The developed school management strategy towards professional learning organization comprised 4 components, namely 1) vision: school management towards professional learning organization 2) mission, 10 items 3) goals, 10 items 4) strategy, 4 items. Strategy 1 was collaborative learning and knowledge application, consisted of 3 activities: 1) internal and external knowledge management  2) knowledge sharing and intelligence development of team 3) application of experience in problem-solving. Strategy 2 was shared values and vision, consisted of 2 activities: 1) the setting of school vision and values; 2) the setting of school management strategy towards professional learning organization. Strategy 3 was synergetic teamwork, consisted of 3 activities: 1) teamwork which members could represent one another 2) morale building 3) the implementation of technology. Strategy 4 was supportive leadership and knowledge management, consisted of 2 activities: 1) supportive leadership of teachers and directors and 2) the implementation of knowledge management methods. 2. The overall appropriateness for application of the developed strategy was at the highest level. 3. The content of the guideline on the implementation of developed strategy consisted of explanation, objectives, benefits, backgrounds, the developed school management strategy towards professional learning organization, the role of stakeholders involved. It was found to be correct and accurate, with the overall appropriateness for application at the highest level.

คำสำคัญ
กลยุทธ์การบริหารโรงเรียน, องค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพ
Keywords
school management strategy, professional learning organization
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,522.23 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 เมษายน 2562 - 09:50:10
View 1583 ครั้ง


^