สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23กลุ่มประชากรที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2,094 คน จาก 45 โรงเรียน โดยจำแนกตามขนาดโรงเรียนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 ปีการศึกษา 2558จำนวน 324 คน จาก 45 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนใช้การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่คืนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประเมินค่าแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.984สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t – test, F – test (One - Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูไม่แตกต่างกัน
3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกันโดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
5. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางยกระดับการบริหารงานวิชาการโรงเรียนทั้ง 4งานโดยผู้วิจัยได้ศึกษาด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม (X̅= 4.30)ได้ด้านที่จะพัฒนา ส่งเสริมแนวทางพัฒนา4 ด้าน คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น และการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
This study aimed at investigating and comparing the school academic affairs management as perceived by the school administrators and teachers in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. The population consisted of 2,094 school administrators and teachers from 45 schools classified by school size. The sampling group used included 324 school administrators and teachersusing Krejcie and Morgan’s table through random sampling. Tools used were a rating scale questionnaire and a questionnaire on effectiveness of the school academic affairs management. Statistics employed comprised percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test (One-Way ANOVA).
The findings were as follows:
1. The overall effectiveness on the school academic affairs management in the opinions of the school administrators and teachers was at the high level.
2. The effectiveness on the school academic affairs management in the perception of the school administrators and teachers showed no significant differences.
3. There were no significant differences in the effectiveness of the school academic affairs management in the perception of the school administrators and teachers in the schools of different size.
4. The effectiveness on the school academic affairs management in the opinions of the school administrators and teachers with different working experience, as a whole and in each aspect, showed no significant differences.
5. The researcher proposed guidelines to uplift the levels of the school academic affairs management effectiveness in 4 aspects which were under the overall mean (4.30) including: research for educational quality development in schools, promotion of stronger community in terms of academic affairs , co-operation in developing academic affairs in schools as well as other organizations and promotion and support in academic affairs for individuals, families, organizations, agencies, workplaces as well as other educational institutions.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 1,336.61 KB |