ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The School-Based Management Affecting the Academic Affairs Administrations in Schools under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้จัดทำ
ภรปภา ศรีธิสาร รหัส 56421229111 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.รัชฎาพร พิมพิชัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยเปรียบเทียบความคิดเห็นตามสถานภาพ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ดำรงตำแหน่ง ศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการและศึกษาอำนาจพยากรณ์ของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลสำเร็จ ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา  และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 369 คน ได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประเมินค่า 2 ฉบับ คือแบบสอบถามระดับการดำเนินงานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.969 และแบบสอบถามระดับผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ ซึ่งค่าความเชื่อมั่น 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การวิเคราะห์ t–test, F–test (One-Way ANOVA) สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์ถดถอย (Multiple Regression)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2.  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3.  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันโดยรวมไม่แตกต่างกัน

4.  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ดำรงตำแหน่งแตกต่างกันโดยรวมไม่แตกต่างกัน

5.  ระดับผลสำเร็จการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

6.  ผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

7.  ผลการเปรียบเทียบผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันโดยรวมไม่แตกต่างกัน

8.  ระดับผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

9.  การดำเนินงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

10. อำนาจพยากรณ์ของการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวมมี 3 ตัวแปร ได้แก่การคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน การตรวจสอบและถ่วงดุลและการมีส่วนร่วมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

11. แนวทางพัฒนาการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ มี 3 ด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล

Abstract

This research aimed to studied, the School-Based Management Affecting the Academic Affairs Administrations in Schools under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1.The samples used in this research were: the Administrator academy, the teachers in school under the office in Sakon Nakhon primary educational service area 1, the academic year 2556 of 369 people. The acquired by a sizing samples of Krejcie and Morgan. The research instruments for collection data utilized a rating scale questionnaire the valuation section with the reliability of 0.924. The statistics used in analyzing data were: percentage, mean, standard deviation, Test analysis using t-test, F-test (One-Way ANOVA).A simple correlation of Pearson (Multiple Regression)

The findings were as follows:

1.  The school-based management by comment of administrators academy and teachers. Overall, the high level.

2.  The school-based management by comment of administrators academy and teachers. Overall and each aspect it’s no difference.

3.  The school-based management by comment of administrators academy and teachers with the worked in schools the different sizes. Overall, no difference.

4.  The school-based management by comment of administrator’s academy and teachers with the worked in schools that have the experienced different positions. Overall, no difference.

5.  The level of affecting the academic affairs administrations in schools by comment of administrator’s academy and teachers. Overall, the high level.

6. The affecting the academic affairs administrations in schools by comment of administrators academy and teachers. Overall and each aspect it’s no different.

7.  The comparison of the affecting the academic affairs administrations in schools by comment of administrators and teachers with the worked in schools the different sizes. Overall, no difference.

8.  The level of affecting the academic affairs administrations in schools by comment of administrators and teachers with the working in schools that have the experienced different positions, different significantly at the .05 level.

9.  The operations the school-based with the affecting the academic affairs administrations. Overall, significantly at the .01 level.

10.  The power prediction of the school-based management affecting the academic affairs administrations in schools. Overall, there are three were: the variables restore the power of education to the public, the checked and balance and the variables involvement of significantly at the .01 level.

11.  This research is to the development the school-based management the 3 aspects were: the decentralization, the involvement, the restore the power of education to the public, the academic planning,

คำสำคัญ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การบริหารวิชาการ
Keywords
School-Based Management, Academic Affairs
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,540.98 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
26 เมษายน 2562 - 12:48:10
View 838 ครั้ง


^